dc.contributor.author |
ศักดิ์ชัย เศรษฐ์อนวัช |
th |
dc.contributor.author |
เกศริน อิ่มเล็ก |
th |
dc.contributor.author |
วรรณภา อุดมผล |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:04:31Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:04:31Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1390 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยเรื่องการสังเคราะห์การเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งการท่องเที่ยวชุมชนภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นของชุดโครงการวิจัยตลอดจนนำเสนอแนวทางแก้ไข และเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและสังเคราะห์ ภาพรวมการวิจัยในประเด็นต่างๆและนำเสนอรูปแบบที่เหมาะสมที่เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งการท่องเที่ยวชุมชนในภาคตะวันออก ในการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) ประชากร คือ ชุดโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่ชุมชนฐานราก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 2 โดยคณะอนุกรรมการเครือข่ายเชิงประเด็น กลุ่มงานวิจัยและนวัตกรรม เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก จำนวน 2 โครงการ โดยการการศึกษาเอกสาร สำรวจและรวบรวมประชากรของชุดโครงการวิจัย จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสังเคราะห์คเชิงคุณภาพหรือเชิงคุณลักษณะด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และเรียบเรียงสาระสำคัญของการค้นพบสรุปเข้าด้วยกันตามเนื้อหาในแต่ละละด้าน คือ ปัญหาและอุปสรรคของชุดโครงการวิจัยผลการสังเคราะห์ด้วยทฤษฎีการท่องเที่ยวชุมชน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้สรุปผลและอภิปรายผลการศึกษา ดังนี้
ผลการศึกษาพบว่า มีปัญหาและอุปสรรคการจัดการการ ท่องเที่ยวชุมชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ประสบปัญหาและอุปสรรคในด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ 1. การประชาสัมพันธ์ไม่เพียงพอและไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทำให้การท่องเที่ยวชุมชนในภาคตะวันออกยังไม่เป็นที่รู้จักอย่าง 2. ระบบการคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่การท่องเที่ยวชุมชนมีข้อจำกัดและไม่สะดวกในเส้นทางการเดินทาง 3. สิ่งอำนวยความสะดวกในด้านระบบสาธารณูปโภคของชุมชนไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว 4. ผู้ประกอบการธุรกิจในชุมชนมีความรู้ในด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวน้อยเกินไป
ทั้งนี้จากการสังเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวพบว่าการจัดการท่องเที่ยวชุมชนภาคตะวันออก อาศัยหลักทฤษฎีการท่องเที่ยวชุมชน (Community – Based Tourism - CBT) ด้านองค์ประกอบของการท่องเที่ยวชุมชนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ด้านองค์กรชุมชน ด้านการจัดการ และด้านการเรียนรู้ โดยทั้ง 4 ด้านนี้ ซึ่งหากชุมชนบริหารจัดการตามทฤษฎีข้างต้น จะสามารถนำมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนให้เกิดศักยภาพและความเข้มแข็ง ซึ่งจะต้องมีหลักการปฏิบัติ คือ ชุมชนต้องตระหนักถึงความเป็นเจ้าของชุมชนร่วมกัน โดยเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและการตัดสินใจบริหารชุมชน พร้อมกับส่งเสริมความภูมิใจในตนเอง และยังคงเอกลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดผลตอบแทนแกคนท้องถิ่น และกระจายรายได้สู่ชุมชน ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยสนับสนุนในด้านงบประมาณ การประชาสัมพันธ์ และเพื่อช่วยพัฒนาชุมชนให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชนที่ได้มาตรฐานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ และความเข้มแข็งการท่องเที่ยวชุมชนภาคตะวันออกให้ยั่งยืนต่อไป
ไม่มีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การท่องเที่ยว |
th_TH |
dc.subject |
สาขาเศรษฐศาสตร์ |
th_TH |
dc.title |
การสังเคราะห์การสร้างเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งการท่องเที่ยวชุมชนภาคตะวันออก |
th_TH |
dc.type |
Research |
|
dc.author.email |
wannapa_kukki@hotmail.com |
|
dc.author.email |
sakchais@buu.ac.th |
|
dc.author.email |
kedsarin@buu.ac.th |
|
dc.year |
2557 |
|