dc.contributor.author |
ชลี ไพบูลย์กิจกุล |
|
dc.contributor.author |
เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล |
|
dc.contributor.author |
รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:04:28Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:04:28Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1356 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสารเร่งสีสำหรับสัตว์น้ำจากดอกดาวเรือง Tagetes erecta การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของการเสริมดอกดาวเรืองในอาหารสำเร็จรูปต่อความเข้มสี อัตราการเจริญ และอัตราการอดตายของกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของการเสริมเม็ดสีที่สกัดจากดอกดาวเรืองเพื่อการเร่งสีในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon และการทดลองที่ 3 ศึกษาการสกัดสารสีจากดอกดาวเรือง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างชุดการทดลองโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์
ผลการวิจัยพบว่า กุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมกลีบดอกดาวเรืองที่ระดับ 0,2 และ 6 เปอร์เซ็นต์มีอัตราการเจริญเติบโตทั้งด้านน้ำหนักและความยาวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) แต่มีอัตราความเจริญเติบโตทั้งด้านน้ำหนักและความยาวน้อยกว่ากุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมกลีบดอกดาวเรือง 4 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) อัตราการรอดพบว่ากุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมกลีบดอกดาวเรืองทุกระดับมีอัตราการรอดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) กุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมกลีบดอกดาวเรืองที่ระดับ 6 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณคาร์โรทินอยด์สะสมสูงสุดแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างสำคัญ (P>0.05) การเสริมกลีบดอกดาวเรืองในอาหารมีผลทำให้กุ้งมีการสะสมคาร์โรทินอยด์ในเนื้อเยื่อมากขึ้น
กุ้งที่ได้รับสารอาหารที่ผสมสารสกัดจากกลีบดอกดาวเรืองทุกระดับมีการเจริญเติบโตและอัตราการรอดไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) กุ้งที่ได้รับสารอาหารที่มีส่วนผสมจากกลีบดอกดาวเรืองสูงขึ้นจะมีการสะสมสารสีในร่างกายเพิ่มมากขึ้น กุ้งที่ได้สารอาหารผสมจากสารสกัดจากกลีบดอกดาวเรือง .04 เปอร์เซ็นต์จะมีปริมาณคาร์โรทินอยด์สูงสุดแตกต่างจากชุดทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) รองลงมาได้แก่กุ้งที่ได้รับสารอาหารที่ผสมสารสกัดจากดอกดาวเรือง 0.2,0.1 และ 0 เปอร์เซ็นต์ กุ้งที่ได้รับอาหารผสมสารสกัดจากกลับดอกดาวเรืองมีการสะสมคาร์โรทินอยด์ในร่างกายได้มากกว่ากุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมสารสกัดจากกลีบดอกดาวเรือง ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าการสกัดสารสีจากกลีบดอกดาวเรืองที่เหมาะสมควรใช้ actone เป็นตัวทำละลาย ควรใช้อัตราส่วนกลีบดอกดาวเรืองต่อตัวทำละลายเท่ากับ 1:100 (w/v) ใช้เวลาในการสกัดนาน 24 ชั่วโมง
ผลการศึกษาพบว่าดอกดาวเรืองมีศักยภาพสูงในการใช้เป็นสารเร่งสีในกุ้งทั้งการใช้กลีบดอกโดยตรง และการสกัดสารสีมาใช้เพื่อเพิ่มความเข้มข้น |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2556 สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี |
th_TH |
dc.subject |
คาร์โรทินอยด์ |
th_TH |
dc.subject |
ดอกดาวเรือง |
th_TH |
dc.subject |
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาสารเร่งสีสำหรับสัตว์น้ำจากดอกดาวเรือง Tagetes erecta |
th_TH |
dc.title.alternative |
Development of color accelerator for aquatic animals from marigold Tagetes erecta |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2557 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study was to develop additive pigment from petal marigold Tagetes erecta. This study was divided into 3 experiments. The first experiment was to study effect of marigold petal addition in artificial feed on pigmentation, growth and survival of black tiger shrimp Penaeus monodon. The second experiment was to examine effect of extracted pigment from marigold petal in artificial feed on pigmentation of black tiger shrimp Penaeus monodon. The third experiment was to study the optimal condition for pigment extract from marigold. Mean of growth, survival and carotenoid in shrimp flesh were analyzed by ANOVA and Duncan’s new multiple range test at 95 percent condition level.
Result demonstrated that shrimp fed diet containing 0,2 and 6 percent of marigold petal had not significantly different on growth (P>0.05) in both of weight and length but the growth of these treatments had significantly different on growth (P>0.05) in both of weight and length but the growth of these treatments had significantly lower weight and length (P>0.05) than shrimp fed diet containing 4 percent of marigold petal. Shrimp fed all diet had not significantly different on survival rate (P>0.05). Shrimp fed diet containing 6 percent of marigold petal was significantly highest carotenoid content (P>0.05) than the other. The addition of marigold petal in artificial feed could improve the cumulative carotenoid content in shrimp.
Shrimp fed diet containing all level of extracted pigment from marigold petal were not significantly different on growth and survival rate (P>0.05). When Shrimp fed diet consist of high levels 0f extracted pigment from marigold petal, their could accumulate high level of carotenoid. Shrimp fed diet containing 0.4 percent of extracted pigment from marigold petal were not significantly different on growth and survival rate (P>0.05). When Shrimp fed diet consist of high levels of extracted pigment from marigold petal, their could accumulate high leve of carotenoid.
Shrimp fed diet containing 0.4 percent of extracted pigment from marigold petal was significantly greatest carotenoid content (P>0.05) than the other. Followed by Shrimp petal was significantly greatest carotenoid content (P>0.05) than the other, followed by Shrimp fed diet consist of extracted pigment from marigold petal had greater carotenoid accumulation than those fed diet consist of marigold petal. In this study, the optimal condition for marigold petal pigment extraction was used acetone as solvent, ratio of marigold petal per solvent as 1:100 (w/v) and 24 hr for extraction. Consequence of this study show that marigold petal had high potential for color accelerator for shrimp in both direct and pigment extraction using. |
en |