Abstract:
การอนุบาลสัตว์ทะเลวัยอ่อนในกลุ่มเตคาพอดครัสเตเซียม (Decapod crustacean) มีความแตกต่างจากการอนุบาลสัตว์ทะเลวัยอ่อนทั่วไป เนื่องจากตัวอ่อนของสัตว์ทะเลในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบบอบบาง ฉีกขาดง่าย ทำให้รูปแบบของภาชนะที่ใช้อนุบาล และลักษณะการไหลของน้ำในภาชนะอนุบาล มีผลต่อความสำเร็จในการอนุบาล ในการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสำหรับอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนในครั้งนี้ ได้นำเอาหลักการของ "Planktonkreisel" (Greve, 1968) มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนา
ภาชนะ ที่ใช้ในการอนุบาลตัวอ่อน ซึ่งภาชนะที่มีรูปแบบต่างกัน 2 แบบ คือ Pseudokreisel tank (PK) (Raskoff et al., 2003) และ Cylindrico-spherical upweller tank (CST) (Calado et al. 2008) พร้อมกับระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดที่ใช้สาหร่ายเป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำ เปรียบเทียบกับการอนุบาลแบบเดิมในระบบน้ำนิ่ง มีการเปลี่ยนถ่าย การทดลองเริ่มจากต้นแบบระบบทดลองขนาดเล็กเพื่อทำการทดสอบเบื้องต้น แล้วทำการทดสอบอัตราการไหลของน้ำที่แตกต่างกัน 2 ระดับ
เมื่อได้ผลการทดลองแล้วจึงขยายขนาดของภาชนะเพิ่มขึ้น จาก 25 ลิตร เป็น 65 ลิตร แล้วทำการทดลองซ้ำอีกครั้ง
ในระบบต้นแบบการทดลองขนาดเล็ก ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า รูปแบบของภาชนะ อัตราการไหลของน้ำมีผลต่อการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนระยะวัยอ่อน อัตราการไหลของน้ำที่เพิ่มขึ้นในภาชนะแบบ Psedokreisel จาก 0.5 ลิตรต่อนาที เป็น 1 ลิตรต่อนาที ทำให้อายุเฉลี่ย (+-SD) ของลูกกุ้งการ์ตูนเพิ่มขึ้นจาก 6.5+-4.4 วัน เป็น 13.8+-3.3 วัน ซึ่งเทียบเท่ากับอายุเฉลี่ยของลูกกุ้งในภาชนะแบบ CST ที่อัตราการไหลของน้ำ 1 และ 2 ลิตรต่อนาที คือ 18.3+-3.9 18.8 +- 2.1 วัน ตามลำดับ และที่อัตราการไหลของน้ำที่ 2 ลิตรต่อนาที ในระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิด ลูกกุ้งสามารถเจริญเติบโตจนถึงระยะ Post-larva ได้
ภาชนะเลี้ยงที่ถูกขยายขนาดให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จาก 25 ลิตร เป็น 65 ลิตร ทำให้ประสบผลสำเร็จในการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนจนผ่านพ้นระยะวัยอ่อนได้ ในภาชนะทดลองทั้งสองรูปแบบที่ใช้ระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดที่ใช้สาหร่ายเป็นตัวควบคุมน้ำ โดยลูกกุ้งมีอัตรารอดเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ (+-SD) 7.8+-0.8 และ 0.4+-0.6 ในภาชนะแบบ CST และ PK ตามลำดับ ขณะที่ลูกกุ้งการ์ตูนตายหมดเมื่อมีอายุระหว่าง 11-37 วันเท่านั้น แสดงให้เห็นว่านอกจาก รูปแบบของภาชนะ และอัตราการไหลของน้ำแล้ว ขนาดของภาชนะและระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดที่ใช้สาหร่ายเป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำ ในระบบที่พัฒนาขึ้นประสบผลสำเร็จในการอนุบาลลูกกุ้งการืตูน ทั้งนี้รูปแบบภาชนะที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาลลูกกุ้งการืตูน ควรใช้ภาชนะแบบ cylindrico-spherical upweller tank และใช้ระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดที่ใช้สาหร่ายเป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำ ระหว่างการอนุบาล