Abstract:
แผนงานวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลสวยงาม (กุ้งการ์ตูน, Hymenocera picta)
เพื่อการอนุรักษ์และการผลิตเชิงพาณิชย์ เป็นแผนงานวิจัยที่มีความสอคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ แผนงานวิจัยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับประมงและการเพาะเลี้ยง ชายฝั่งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและนำไปสู่การแข่งขันและการพึ่งพาตนเอง มีวัตถุประสงค์หลักของแผนงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้งการ์ตูนสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์ มีระยะเวลา
การวิจัย 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553-2555
แผนงานวิจัยประกอบไปด้วย โครงการวิจัย 9 โครงการ ภายใต้ 5 แผนงานวิจัยย่อย ดังนี้คือ
โครงการวิจัยที่ 1 การเจริญเติบโต การเจริญพันธุ์ และพฤติกรรมการสืบพันธุ์ของกุ้งการ์ตูน
โครงการวิจัยที่ 2 การศึกษาพัฒนาการของคัพภะและของกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน โครงการวิจัยที่ 3
ผลของชนิดของอาหารและความถี่ในการให้อาหารต่อการเจริญเติบโตการสิบพันธุ์ และการผลิตตัวอ่อนของกุ้งการ์ตูน โครงการวิจัยที่ 4 การเจริญเติบโต และผลของการเสียรยางค์ ต่อการเจริญเติบโต
และการงอกใหม่ของรยางค์ของปลาดาวแดงที่เป็นอาหารของกุ้งการ์ตูน โครงการวิจัยที่ 5 ผลของการเสริมกรดไขมันและไวตามินซีลงในแพลงก์ตอนสัตว์ต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย ของกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน โครงการวิจัยที่ 6 ผลของการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อนด้วย
โคพีพอดต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย ของลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน โครงการที่ 7 พัฒนาการการเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายของลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน ที่อนุบาลด้วยระบบ
การเลี้ยงที่แตกต่างกัน โครงการวิจัยที่ 8 ผลของอาหารต่อการเจริญเติบโต การรอดตาย การเจริญพันธุ์ของกุ้งการ์ตูน ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง และโครงการวิจัยที่ 9 ธุรกิจการค้าสัตว์ทะเลสวยงามในกลุ่มกุ้ง กั้ง ปู ของประเทศไทย งบประมาณที่ได้รับรวมทั้งสิ้น 8,062,800 บาท
จากการประเมินความสำเร็จและความคุ้มค่าด้านงบประมาณของแผนงานวิจัย แสดงให้เห็นว่าแผนงานวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลสวยงามนี้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกประการ ดังนี้คือ
1. ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้งการ์ตูน คณะผู้วิจัยสามารถวิจัยและพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงกุ้งการ์ตูนได้จนประสบผลสำเร็จ สามารถนำมาจัดทำเป็นวิธีปฏิบัติ สำหรับใช้ในการเผยแพร่สู่ผู้สนใจได้
2. คณะผู้วิจัยสามารถนำเอาองค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัยไปเผยแพร่สู่ผู้สนใจ ด้วยการฝึกอบรม จำนวน 3 ครั้ง ผู้เข้ารับการอบรมรวมทั้งสิ้น 105 คน จากเป้าหมายที่กำหนด
ไว้ 80 คน จนผู้เข้ารับการอบรม 42% (43 ราย) พร้อมที่จะนำความรู้ที่ได้จากแผนงานวิจัยนี้ไปทำการเพาะเลี้ยงกุ้งการ์ตูนต่อไป
3. เมื่อประเมินความคุ้มค่าด้านงบประมาณของแผนงานวิจัยแล้ว พบว่าสูงกว่าเป้าหมายที่ กำหนดไว้ คือ 43 รายจากเป้าหมาย 4 ราย จากสมมติฐานที่ตั้งไว้คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่ากับ 93,600,000 ถึง 154,800,000 บาทต่อปี จากงบประมาณที่ได้รับเท่ากับ 8,062,800 บาท