DSpace Repository

กระบวนการสร้างเสริมทักษะการป้องกันโรคติดต่อของเด็กวัยเรียนในชุมชน

Show simple item record

dc.contributor.author พัชรินทร์ พูลทวี
dc.contributor.author สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
dc.contributor.author นิสากร กรุงไกรเพชร
dc.contributor.author ตระกูลวงศ์ ฤาชา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:50Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:50Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/133
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างเสริมทักษะการป้องกันโรคติดต่อของเด็กวัยเรียนในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 67 คน จาก 2 โรงเรียน ใน 2 ชุมชนในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง ที่สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ดำเนินการพัฒนาโดย การประชุมกลุ่มผู้นำองค์กรต่างๆ ในชุมชนเพื่อสร้างความมีส่วนร่วม ระดมสมองคิดวางแผน กระบวนการสร้างเสริมทักษะการป้องกันโรคติดต่อของเด็กวัยเรียนในชุมชนของตนเอง ดำเนินการพัฒนาและนำเสนอผลโดยรวมสู่ผู้นำองค์กรต่างๆ เพื่อให้เห็นประโยชน์และนำไปสู่แผนการพัฒนาชุมชน ทำการเก็บข้อมูลโดยการทำประชาคม การประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยวิธีให้ข้อมูลจากหลายแหล่งรวมกัน (Triangulation method) และการสะท้อนข้อมูล (Reflection) วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยดังนี้ 1. สถานการณ์พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมในชุมชน ได้แก่ เด็กมีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ ผลเสียด้านสังคม การทำแท้ง การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ทำให้เป็นภาระต่อครอบครัวและชุมชน ชุมชนเห็นว่ามาจาก ค่านิยมในเรื่องการดูแลตนเอง การขาดความรักความอบอุ่น การเข้าถึงสื่อทางโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต 2. การดำเนินการป้องกันโรคติดต่อของเด็กวัยเรียนในชุมชน ที่ดำเนินการอยู่ผ่านกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1) โครงการเพื่อนใจวัยรุ่นเป็นความร่วมมือระหว่าง รพสต.กับโรงเรียน บริการให้คำปรึกษาแก่เด็ก 2) การใช้ธรรมะในการพัฒนาจิตใจเด็ก โดยร่วมมือกับพระภิกษุและครูสอนจริยธรรม 3) การสอนให้ความรู้ในเรื่องเพศศึกษา โดยครูเป็นผู้สอนในวิชาสุขศึกษา ความรู้เรื่องเพศ และโรคติดต่อ รวมทั้งเน้นให้เด็กป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 3. กระบวนการสร้างเสริมทักษะการป้องกันโรคติดต่อของเด็กวัยเรียนในชุมชนเป็นดังนี้ 1) นัดประชุมผู้นำชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนในการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนเพื่อให้เห็นสภาพปัญหาและเกิดความตระหนักถึงปัญหาในชุมชน 2) ร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุกำหนดแนวทางแก้ไข 3) การดำเนินกิจกรรมตามกระบวนการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ โดยดำเนินกิจกรรมกับเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 67 คน จำนวน 5 ครั้ง กิจกรรมประกอบด้วย การพัฒนาความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วิเคราะห์สถานการณ์และพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กวัยเรียนในชุมชน ฝึกทักษะชีวิตในการป้องกันการมีเศสัมพันธ์การตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา สร้างความตระหนักจากประสบการณ์จริง ชีวิตของผู้ป่วยเอดส์ วัดประเมิณความรู้และทักษะการป้องกันโรคติดต่อของเด็กวัยเรียน 4) ประชุมและนำเสนอผลการสร้างเสริมทักษะการป้องกันโรคติดต่อของเด็กวัยเรียน เพื่อพัฒนาเป็นแผนชุมชนและลดปัญหาการเกิดโรคติดต่อในวัยเรียนและชุมชน ซึ่งผู้นำองค์กรได้ให้ความสนใจและจะนำไปใช้เป็นแผนของตำบลต่อไป This Participatory action research aims to study and develop “The Process of Creating the Skills for the Prevention of Communicable Disease in School-age Children in the community” The participants consisted of sixty-seven students, class two, lower secondary school, from two schools from communities in Chonburi and Rayong provinces that used multistage random sampling method. The process was developed by public hearings in a community focus Group, and involved in –depth public interviews and brainstorms concerning planning for the process of creating the skills for the prevention of communicable disease in school-age children in the community. In order to verify the accuracy of the data the triangulation method was used and reflects that data back to related the people concerned. The Content analysis was carried out. The results are as follow… 1. The situation of student sexual behavior in the community. Sexual behavior with reference to AIDS, pregnancy and general popular concerns perceived from the need for love and the internet. 2. The program prevention of sexual diseases for students in the community. 1) Project cooperation between public health staff and the school directors to consult with about the problems 2) Develop mind from dharma cooperation between the temples and school directors 3) Courses in school to emphasize sexual prevention. 3. The process of Creating the Skills for the Prevention of Communicable Disease in School-age Children in the community. 1) The process of pre-development by helping the community leaders to realize their problem by in-depth interview. 2) Analyze causes and planning to solve this problem. 3) Manage activities to follow the plan with sixty-seven student of class two, lower secondary school five times. The activity feature is to teach sexual prevention, analyze the situation of student sexual behavior in the community, develop life skills and develop realization of HIV from visits to patients. 4) Meeting and presentations of the results of the Prevention skills for the Prevention of communicable Disease in School-age Children in the community. th_TH
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2552 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ทักษะชีวิต th_TH
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา - - พฤติกรรมทางเพศ th_TH
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา - - สุขภาพและอนามัย - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ - - วิจัย th_TH
dc.subject โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - - การป้องกันและควบคุม th_TH
dc.subject สุขภาพและอนามัย - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject สุขวิทยาทางเพศ - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title กระบวนการสร้างเสริมทักษะการป้องกันโรคติดต่อของเด็กวัยเรียนในชุมชน th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2554


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account