DSpace Repository

กระบวนการควบคุมและป้องกันโรคทางพันธุกรรมธาลัสซีเมียจากโรงเรียนสู่ชุมชน

Show simple item record

dc.contributor.author สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ th
dc.contributor.author พัชรินทร์ พูลทวี th
dc.contributor.author นิสากร กรุงไกรเพชร th
dc.contributor.author วันดี โตรักษา th
dc.contributor.author ตระกูลวงศ์ ฤาชา th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:50Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:50Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/132
dc.description.abstract การวิจัยและพัฒนา (development and research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของโรคเลือดจางธาลัสซีเมียจากในดรงเรียนและถ่ายทอดสู่ครอบครัวและชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 77 คน จาก 2 โรงเรียน ใน 2 ชุมชนในภาคตะวันออก ที่สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นผู้แทนหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเด็กวัยเรียนในชุมชน ดำเนินการพัฒนาโดยการประชุมผู้แทนหน่วย วิเคราะห์สถานการณ์การเกิดโรคและพาหะของโรค จัดกิจกรรมพัฒนาความรู้ ความตระหนักในนักเรียน รับการตรวจคัดกรองโรค นำเสนอผลโดยรวมสู่ผู้แทนหน่วยงานต่างๆเพื่อพัฒนาความตระหนัก และแผนงานควบคุมโรคในชุมชน ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการบันทึกเหตุการณ์ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยการใช้ข้อมูลหลายด้านและการสะท้อนข้อมูลการสรุปกลับสู่ผู้ให้ข้อมูลตรวจสอบ ส่วนการเก็บข้อมูลในนักเรียนใช้แบบสอบถามความรู้ ความตระหนัก และความตั้งใจในการตรวจคัดกรองซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นระดับ ปานกลาง สูงและค่อนข้างสูงตามลำดับ (α = .61 , .81 , .72 ตามลำดับ) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติพรรณนา และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (paired t test) ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการพัฒนามีลักษณะที่สำคัญ คือ การประสานงานกับผู้มีบทบาทในการตัดสินใจเชิงนโยบายในชุมชน การนำเสนอข้อมูลช่วยสร้างความตระหนักแก่ผู้เกี่ยวข้อง เด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้และยอมรับการตรวจคัดกรองโรค การเผยแพร่ความรู้โดยนักเรียนต่อครอบครัวและชุมชนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหลังจากกระบวนการพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารองค์กรในชุมชนมีผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาการตรวจคัดกรองโรคในโรงเรียนและในชุมชน นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความตระหนัก ความตั้งใจในการคัดกรองโรคเพิ่มมากขึ้น และยินดีตรวจคัดกรองโรค ผลการตรวจคัดกรองช่วยพัฒนาความตระหนักแก่ผู้บริหารงานสาธารณะสุข ผู้บริหารโรงเรียนที่จะเสนอแผนต่อชุมชน นอกจากนี้นักเรียนสามารถเผยแพร่ความรู้สู่ครอบครัวและชุมชนได้ในสัดส่วน 1 : 7.5 ข้อเสนอแนะพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรใช้เป็นแนวทาง และพัฒนาเป็นแผนงานการควบคุมและป้องกันโรคเลือดจางธาลัสซีเมียในโรงเรียนและชุมชนต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2552 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ธาลัสสีเมียในเด็ก - - การป้องกันและควบคุม th_TH
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ - - วิจัย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject เลือดจางในเด็ก - - การป้องกันและควบคุม th_TH
dc.title กระบวนการควบคุมและป้องกันโรคทางพันธุกรรมธาลัสซีเมียจากโรงเรียนสู่ชุมชน th_TH
dc.title.alternative Thalassemia control and prevention process from school to community en
dc.type Research
dc.year 2554
dc.description.abstractalternative The purpose of this development and research was to develop a thalassemia control and prevention process from school to families and communities. The participants consisted of seventy-seven class three, lower secondary school students, from two school, in two communities in the eastern region, that used the multistage random sampling method, and representatives from community organizations that responded to the students health. The process was developed as a result of a conference held about thalassemia incidence and thalassemia trait events. The students knowledge was developed and they became aware of the importance of taking a thalassemia screening test. The researcher presented the screening test results to the organization representatives so that they could to set thalassemia control measures and prevention plans in communities. In – depth interviews and event records were used for data collection, the triangulation and data reflection techniques were used to validate the data. Knowledge tests, screening tests results and intention to screening test questionnaires were used to collected students’ data, that were moderate, high, and slightly high levels of questionnaires reliability ((α = .61 , .81 , and .72 respectively). Data analyzed by content analysis technique, descriptive statistics, and paired t – test. The results were as follow: The special method of research process was collaborative with policy decision authorities in the community. Data presentations were made for concern of stakeholders. The students understood and received thalassemia screening test concepts. The knowledge was distributed by students to families and communities by natural methods. The administrators of the organizations’ change s were effective to thalassemia control and prevention process in school and communities. As a result of the students having knowledge, they placed greater intentions to take thalassemia screening tests than before. The screening test results caused the school administrators and health care centers to have higher concerns and to submit the screening test projects to the local administrative plan. The research also found that the students could distribute the knowledge to their families and friends, the average distribute proportion was 1 : 7.5. The suggestion is that community nurse practitioners should use the process as a guideline and develop thalassemia control and prevention plans in schools and communities. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account