DSpace Repository

วิถีสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลแสนสุข

Show simple item record

dc.contributor.author สุนันทา โอศิริ th
dc.contributor.author มยุรี พิทักษ์ศิลป์ th
dc.contributor.author พัชชาพลอย ศรีประเสริฐ th
dc.contributor.author พรรณภัทร อินทฤทธิ์ th
dc.contributor.author วรัมพา สุวรรณรัตน์ th
dc.contributor.author สถาพร บัวธรา th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:04:24Z
dc.date.available 2019-03-25T09:04:24Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1298
dc.description.abstract การสำรวจสถานะสุขภาพผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 200 คน พบว่า เป็นเพศหญิง (71%) อายุเฉลี่ย 67.1 ปี ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา (67.5%) และไม่ได้เรียนหนังสือ (22.5%) สถานภาพสมรส โสด/หม้าย/ หย่าแยกกันอยู่ (35.5%) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (96.5%) มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก/ภาคกลาง (92.5%) ไม่ได้ประกอบอาชีพ (58.5%) ส่วนที่ยังทำงาน มีอาชีพรับจ้าง/ธุรกิจ/ค้าขาย (40.5%) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย (61%) ผู้สูงอายุอยู่กับคู่สมรสและ/หรือบุตรหลาน (79%) ส่วนหนึ่งอยู่บ้านคนเดียว/ไม่มีผู้ดูแล (19.5%) สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 3.9 คน ส่วนใหญ่มีผู้ดูแล (87.5%) ซึ่งผู้ดูแลส่วนใหญ่คือบุตร (55%) ส่วนใหญ่มีปัญหาสภาพร่างกาย (81.5%) คือมีปัญหาด้านสายตา การได้ยิน หูตึง และมีปัญหาเรื่องฟัน การเคี้ยว กลืนอาหารไม่ปติ ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว (48%) ที่พบมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง (34.55%) เบาหวาน (14%) ไขมันในเลือดสูง (13%) เมื่อเจ็บป่วยส่วนใหญ่ไปรับการรักษา ที่โรงพยาบาล (61.5%) รองลงมาคือการซื้อยารักษาตนเอง (18%) ผู้สูงอายุมีธาตุเจ้าเรือนเกิดอยู่ในทั้ง 4 ธาตุใกล้เคียงกัน รสอาหารที่ชอบส่วนใหญ่มีรสจัด และชอบรสอาหารที่ไม่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ มีผู้ออกกำลังกาย (51.5%) นอนหลับและพักผ่อนไม่เพียงพอ (19.6%) ส่วนใหญ่ปฏิบัติตามหลักศาสนา เช่น การรักษาศีล ไปทำบุญที่วัด สวดมนต์ ฝึกปฏิบัติสมาธิ เป็นบางครั้ง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รู้จักหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (88.3%) และได้นำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม (20.6%) ผู้สูงอายุเคยใช้วิธีการดูแลรักษาสุขภาพแบบแพทย์แผนไทย (53%) เคยใช้ยาสมุนไพร (21.1%) นวดทั้งตัวแก้ปวดเมื่อย (17.3%) นวดเฉพาะบริเวณที่มีอาการ (19.5%) ประคบสมุนไพร (10.8%) โดยรับบริการสุขภาพที่แผนกแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาล (26.5%) หมอนวดในชุมชน (22.9%) ได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยจาก สื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ (55.2%) รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล (26%) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เห็นว่าควรให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย (73.7%) ปัจจัยด้าน อายุ ระดับการศึกษา ความเพียงพอของรายได้ การมีผู้ดูแล สภาวะสุขภาพ การได้รับข้อมูลข่าวสาร และการเข้าถึงบริการสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการดูแลรักษาสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทยเพื่อนำไปใช้เพื่อสรา้งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณเงินแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ.2556 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject แพทย์แผนไทย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title วิถีสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลแสนสุข th_TH
dc.title.alternative Thai Traditional Medicine Health care of Elderly en
dc.type Research
dc.year 2556


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account