DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดศรีษะ อาการอ่อนล้า และความแปรปรวนของการนอนหลับกับความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย

Show simple item record

dc.contributor.advisor เขมารดี มาสิงบุญ
dc.contributor.advisor นิภาวรรณ สามารถกิจ
dc.contributor.author อริยาวรรณ วรรณสีทอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-01-25T08:56:25Z
dc.date.available 2024-01-25T08:56:25Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12686
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การบาดเจ็บที่ศีระทำให้โครงสร้างและการทำหน้าที่ของสมองเกิดการเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมลดลง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อ 1) ศึกษาการเกิดอาการปวดศีรษะ อาการอ่อนล้า และความแปรปรวนของการนอนหลับของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยภายหลังบาดเจ็บ 24 ชั่วโมง 1 สัปดาห์ และ 2 สัปดาห์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการและความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้ป่วยบาดเจ็ดศีรษะระดับเล็กน้อยภายหลังได้รับบาดเจ็บ 2 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยที่เข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยศัลยธรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลชลบุรี ในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 คัดเลือกกลุ่ตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 90 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามอาการปวดศีรษะ แบบสอบถามอาการอ่อนล้า แบบสอบถามความแปรปรวนของการนอนหลับ และแบบสัมภาษณ์ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะใน 24 ชั่วโมงแรก สัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 2 กลุ่มตัวอย่างมีอาการปวดศีรษะร้อยละ 97.8, 96.7 และ 85.5 ตามลำดับ มีอาการอ่อนล้าร้อยละ 96.7, 94.4 และ 88.9 ตามลำดับ และมีความแปรปรวนของการนอนหลับร้อยละ 100 ทั้ง 3 ระยะของการศึกษาติดตาม กลุ่มตัวอย่างสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้เหมือนเดิมภายหลังได้รับบาดเจ็บ แต่รู้สึกว่าปฏิบัติได้ยากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนได้รับบาดเจ็บทั้งในสัปดาห์ที่ 1 และ 2 (M = 3.70, SD = .27 และ M = 3.79, SD = .28 ตามลำดับ) และภายหลังได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ 2 สัปดาห์ พบว่า อาการปวดศีรษะ อาการอ่อนล้า และความแปรปรวนของการนอนหลับมีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาล และบุคลากรทีมสุขภาพควรประเมินอาการปวดศีรษะอาการอ่อนล้า และความแปรปรวนของการนอนหลับ และพัฒนาแนวทางการดูแลเพื่อลดความรุนแรงของอาการปวดศีรษะ อาการอ่อนล้า และความแปรปรวนของการนอนหลับที่มีผลต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อยตั้งแต่ระยะแรกหลังได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ปวดศีรษะ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดศรีษะ อาการอ่อนล้า และความแปรปรวนของการนอนหลับกับความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย
dc.title.alternative Reltionships between hedche, ftigue, sleep disturbnce, nd performnce in mild hed injury ptients
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Head injury affects brain structure and its functions resulting in reduction of the performance among mild head injury patients. This descriptive research aimed to 1) explore the occurrence of symptoms including headache, fatigue, and sleep disturbance after head injury for 24 hours, one week, and two weeks 2) examine relationship between headache, fatigue, sleep disturbance, and performance 2 weeks after mild head injury. 90 mild head injury patients were recruited by inclusion criteria from the Tranumatic ward of Chonburi Hospital during March through September, 2015. Instruments included the Personal Information questionnaire, the Brief Pain Inventory (BPI) Questionnaire, the Barrow Neurological Institute (BNI) Questionnaire, the Fatigue Scale, the Veran and Synder-Halpern Sleep Scale, and the Rivermead Head Injury Follow Up Questionnaire (RHFUQ). Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman’s rank correlation coefficients. The results showed that after head injury at 24 hours, one week, and two week, the samples reported the occurrence of headache as 97.8%, 96.7%, and 85.5% respectively. They reported the occurrence of fatigue as 96.7%, 94.4%, and 88.9% respectively and 100% of the participants reported that the had sleep disturbance all the time after head injury without change in their performances. Additionally, they felt it was more difficult to perform activitie of daily living at the first and the second week after the injury than prior injury (M = 3.70, SD = .27; M = 3.79, SD = .28, respectively). The results also found statistically negative relationships between headache, fatigue, sleep disturbance, and performance 2 weeks after the injury (r2=-.48, -.56, and -.51, p<.01 respectively). These findings suggested that nurses and health care providers should assess the occurrence of symptoms related to head injury including headache, fatigue, and sleep disturbance and develop guideline to reduce severity of these symptoms to promote performance at the early phase after head injury.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้ใหญ่
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account