DSpace Repository

การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออกในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุพรรณ กาญจนสุธรรม
dc.contributor.advisor ณรงค์ พลีรักษ์
dc.contributor.advisor แก้ว นวลฉวี
dc.contributor.author จันทนีย์ บุญมามีพูล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-01-25T08:46:54Z
dc.date.available 2024-01-25T08:46:54Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12660
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาททางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านระบาดวิทยาและการควบคุมโรค โรคไข้เลือดออกก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่ สามารถใช้เทคโนโลยีนี้ในการในวางแผนควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค เนื่องจากเป็นโรคที่การระบาดผันแปรตามปัจจัยทางภูมิอากาศ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยทำการรวบรวมข้อมูลระดับตำบล ระหว่างปี พ.ศ. 2552-2556 ได้แก่ จำนวนผู้ป่วย จำนวนประชากร จำนวนหลังคาเรือนจากหน่วยงานท้องถิ่น ในขณะที่ข้อมูลอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน และจำนวนวันที่ฝนตกจากสถานีอุตุนิยมวิทยา 6 สถานีรอบพื้นที่มาทำการประมาณค่าช่วง (Interpolation) เพื่อหาค่าเฉลี่ยรายตำบล จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าสหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) แล้วนำค่าที่ได้มาทำการวิเคราะห์หาพื้นที่และช่วงเวลาเสี่ยงของโรคไข้เลือดออกโดยใช้โปรแกรม ArcGIS Desktop 10.0 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลรายปีพบว่ามีพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงปานกลางจำนวน 6 ตำบล คือ ตำบลห้วย ใหญ่ ตำบลหนองปรือ ตำบลเขาไม้แก้ว ตำบลหนองปลาไหล ตำบลตะเคียนเตี้ย และตำบลบางละมุง และพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงน้อย จำนวน 2 ตำบล คือ ตำบลโป่งและตำบลนาเกลือ และจากการวิเคราะห์ข้อมูลรายเดือน พบว่าระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคมเป็นช่วงเวลามีความเสี่ยงสูง และมีระดับความเสี่ยงมากที่สุดในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม จากผลการวิเคราะห์สามารถใช้เป็น ข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ทำการศึกษาได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์
dc.subject ไข้เลือดออก -- ไทย -- ชลบุรี
dc.subject ไข้เลือดออก
dc.subject Health Sciences
dc.title การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออกในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Appliction of geoingormtion technology for evluting dengue hemorrhgic fever risk res in bng lmung district, chon buri province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The geospatial technology has beenintroduced in the field of the health science particularly the epidemiology. The Dengue Hemorrhagic Fever (DHF) is one of the infectious disease that could be used this technology for preventive planning because its incidence related to the weather atmosphere. This research aims to evaluate the DHF risk areaof the Banglamung district, Chon Buri province by using data from the year 2009-2013. The secondary data such as the numbers of dengue patients, the population and the number of households were collected form the sub-district officers. Whereas the temperature, the relative humidity, the rainfall, the number of rainy days of each sub-district were interpolated and averaged from six meteorological stations around the study area. After that, the data were analyzed through a correlation analysis. The correlation results were used to indicate the risk areas of dengue fever using ArcGIS Desktop 10.0. It was found that, theyearly risk areas show the moderate risk of six sub-districts namely, Huay Yai, Nongprue, Khao Mai Kaew, Nong Pla Lai, Takiantia, and Banglamung, and the low risk of twosub-districts namely, Pong and Nakeur. Whereas, the monthly risk areas show the period of high risk in April to October in which the highest risk is found in July and August. Finally, the results could be used for preventive planning of DHF in the study area.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ภูมิสารสนเทศศาสตร์
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account