dc.contributor.advisor |
ปวีณา มีประดิษฐ์ |
|
dc.contributor.advisor |
ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข |
|
dc.contributor.author |
ดนัย เครือแวงมล |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-01-25T08:46:52Z |
|
dc.date.available |
2024-01-25T08:46:52Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12656 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แผ่นรองยืนเพื่อลดอาการผิดปกติบริเวณหลัง ขา และข้อเท้าในกลุ่มคนงานยืนทำงานเป็นเวลานาน โดยมีรูปแบบการศึกษาแบบกึ่งทดลอง มีกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 2 กลุ่ม ๆ ละ 40 คน คือ กลุ่มทดลองที่ใช้แผ่นรองยืน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้แผ่นรองยืน ทำการศึกษาโดยการให้กลุ่มทดลองได้ใช้แผ่นรองยืนตลอดเวลาทำงานรวม 4 สัปดาห์ และทำการวัดอาการผิดปกติบริเวณหลัง ขา และข้อเท้า ด้วยการทดสอบความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และใช้แบบสอบถามความรู้สึกปวดบริเวณหลัง ขา และข้อเท้า สัปดาห์ละ 1 ครั้งในวันสุดท้ายของการทำงานแต่ละสัปดาห์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มที่ใช้แผ่นรองยืนมีระดับของความรู้สึกปวดแตกต่างกับกลุ่มที่ไม่ใช้แผ่นรองยืนทุกสัปดาห์ โดยกลุ่มที่ใช้แผ่นรองยืนมีการลดลงของค่าเฉลี่ยความรู้สึกปวดบริเวณหลัง ขา และข้อเท้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)ในขณะกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่แผ่นรองยืนมีค่าเฉลี่ยความรู้สึกปวดบริเวณหลัง ขา และข้อเท้าเพิ่มขึ้น แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านของระดับและค่าเฉลี่ยของความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อบริเวณหลังและขา แต่ละสัปดาห์ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต แต่พบระดับความยืดหยุ่นบริเวณข้อเท้าที่แตกต่างระหว่างกลุ่มที่ใช้และไม่ใช้แผ่นรองยืนในสัปดาห์ที่ 2 เท่านั้น จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่มีต่อการใช้แผ่นรองยืนในคนงานกลุ่มที่ยืนทำงานเป็นเวลานานมีประโยชน์ต่อคนงานมากโดยเฉพาะในเรื่องของความรู้สึกปวดบริเวณหลัง ขา และข้อเท้า |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
|
dc.subject |
ปวดหลัง |
|
dc.subject |
Health Sciences |
|
dc.subject |
ปวดหลัง -- การป้องกันและควบคุม |
|
dc.subject |
ปวดหลัง -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ |
|
dc.title |
ผลของการใช้แผ่นรองยืนที่มีต่อความยืดหยุ่นและอาการปวดบริเวณหลัง ขา และข้อเท้าในกลุ่มคนงานยืนทำงานเป็นเวลานานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง |
|
dc.title.alternative |
The effects of nti-ftigue mts to bck, legs nd nkle flexibility nd pin mong prolonged stnding workers in n utomobile mnufcturing fctory |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to study the effect of anti-fatigue mats in reducing back, leg, and ankle disorders among prolonged standing workers. The design was the quasi-experimental design study. The subjects were divided into two groups consisting of 40 each. The experimental group used the anti-fatigue mats during work for 4 weeks. While the control group worked in normal condition. The back, leg, and ankle flexibility were measured by sit and reach test, and pains were measured by the Standardized Nordic Questionnaires with the Visual analog scale. The result found that pain levels between the two groups were different every week. The experimental group had an average decrease pain level at back, legs and ankle significantly (p-value < 0.05). The control group not had an increased pain level at back, legs and ankle but not significant. The average flexibility of back and legs was not different each week. Only ankle flexibility level was different between the experimental group and the control group in the 2nd week. This research suggested that anti-fatigue mats were beneficial in prolonged standing workers, and effective in reducing pain at back, legs and ankle of the workers. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|