DSpace Repository

การประเมินอภิมานการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล

Show simple item record

dc.contributor.advisor ผลาดร สุวรรณโพธิ์
dc.contributor.advisor พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.author อรจิรา ยอดคำ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-01-25T08:46:51Z
dc.date.available 2024-01-25T08:46:51Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12651
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินอภิมานการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล และวิเคราะห์กระบวนการประเมินการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างคือครู ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการรับนักเรียนจำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินการรับนักเรียนเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ลักษณะคำถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ครอบคลุมมาตรฐานการประเมินอภิมาน 4 ด้าน ประกอบด้วย มาตรฐานด้านอรรถประโยชน์ (Utility standards) มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ (Feasibility standards) มาตรฐานด้านความเหมาะสม (Propriety standards) มาตรฐานด้านความถูกต้อง (Accuracy standards) และคำถามปลายเปิดปัญหา/ อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการประเมินการรับนักเรียนมัธยม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินอภิมานการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลโดยภาพรวมทุกมาตรฐานอยู่ในระดับดีมาก ในด้านอรรถประโยชน์ค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือก สถานที่สอบ และห้องสอบอย่างชัดเจนอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยผลการประเมินน้อยที่สุดคือการออกแบบทดสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียนมีเนื้อหาครอบคลุมและตรงกับระดับความรู้ของนักเรียน ด้านความเป็นไปได้ค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือโรงเรียนมีการกำหนดนโยบายและแผนการรับนักเรียนอย่างเหมาะสมดีมาก ค่าเฉลี่ยผลการประเมินน้อยที่สุดคือการตรวจแบบทดสอบโดยผู้มีประสบการณ์ ความรู้ และตรวจทานมากกว่า 1 ครั้ง ด้านความเหมาะสมค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือโรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการรับนักเรียนอย่างชัดเจนอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย ผลการประเมินน้อยที่สุดคือโรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการออกแบบทดสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียน และด้านความถูกต้องค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือโรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการรับนักเรียนอย่างชัดเจนดีมาก ค่าเฉลี่ยผลการประเมินน้อยที่สุด คือ แบบทดสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียนเป็นแบบทดสอบที่มีมาตรฐานผ่านการรับรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลการประเมินการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลของผู้ประเมินที่มีภูมิลำเนา ขนาดโรงเรียนและประเภทของโรงเรียนแตกต่างกันมีผลการประเมินอภิมานแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภูมิลำเนาที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือภาคกลาง น้อยที่สุดคือภาคเหนือ ขนาดโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ น้อยที่สุดคือโรงเรียนขนาดเล็ก ประเภทของโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง น้อยที่สุดคือโรงเรียนทั่วไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject การประเมินอภิมาน
dc.subject โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การรับนักเรียน
dc.title การประเมินอภิมานการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล
dc.title.alternative Met evlution for student dmission in secondry school
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The sample groups were 377 people consisted of teachers, school directors and others who were responsible for student admission. The research instrument was meta evaluation test for student admission in secondary school. The research questionnaires used the 5 rating scales technique with 4 factors of meta evaluation: utility standards, feasibility standards, propriety standards and accuracy standards, and the part of open questionnaires were about problems/obstacles and suggestions for student admission evaluate in secondary school. The researcher used descriptive statistics, t-test, One-way ANOVA to analyze the quantitative data and used content analysis for qualitative data. The research result revealed that all standards of meta evaluation for student admission in government secondary school were excellent. The highest level of meta evaluation in utility standards were the list of eligible applicants, the place and room for examination at the very good level. The lowest level was the test designed to screen and match with comprehensive knowledge level of the students. The highest level of feasibility standards was the school policy and plan for student admission at the very good level. The lowest level was the test checking by the experience, knowledge and review more than one time. The highest level of propriety standards was the assignment of student admission board at the very good level. The lowest level was the assignment of student admission board for designing the test. The highest level of accuracy standards was the assignment of student admission board at the very good level. The lowest level was the admission test reached the standard certified by a qualified person. The mean comparison of student admission in government secondary school who were from different region, school sizes and kinds of school was different with statistics significance of .05. The Central region was in the highest level. The North region was in the lowest level. The highest level of the school size was the extra large school, the small school was at the lowest level. The highest level of the kind of school was the school with high competitive rate, the general school was at the lowest level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account