dc.contributor.advisor |
วิชิต สุรัตน์เรืองชัย |
|
dc.contributor.advisor |
ปริญญา ทองสอน |
|
dc.contributor.advisor |
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม |
|
dc.contributor.author |
ดนยา อินจำปา |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-01-25T08:46:51Z |
|
dc.date.available |
2024-01-25T08:46:51Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12650 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสำหรับผู้ดูแลเด็ก ศูนย์การศึกษาพิเศษ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสำหรับผู้ดูแลเด็ก ศูนย์การศึกษาพิเศษ 3) เพื่อติดตามผล
การนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสำหรับผู้ดูแลเด็ก ศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน 25 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ใช้เวลาในการทดลองจำนวน 22 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะ และแบบวัดเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t - test) โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนาหลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตรภาคสนาม 4) การติดตามประเมินผลการนำความรู้ไปใช้
ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้หลักสูตรฝึกอบรมที่มีคุณภาพในระดับดีมาก มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ สามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมได้จริง 2) การหาประสิทธิผลของหลักสูตรจากผลการเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาของผู้ดูแลเด็ก หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินการฝึกทักษะของผู้ดูแลเด็กมีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และผลการเปรียบเทียบคะแนนวัดเจตคติของผู้ดูแลเด็กต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการติดตามประเมินผลการนำความรู้เรื่องการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาของผู้ดูแลเด็กไปใช้ปฏิบัติหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว 2 สัปดาห์ พบว่าผู้ดูแลเด็กมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มมากขึ้น มีทักษะในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มมากขึ้น และมีเจตคติที่ดีต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มมากขึ้น |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ความบกพร่องทางสติปัญญา |
|
dc.subject |
Humanities and Social Sciences |
|
dc.subject |
ผู้ดูแลเด็ก -- การฝึกอบรม |
|
dc.subject |
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก |
|
dc.subject |
เด็กปัญญาอ่อน -- การดูแล |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
|
dc.title |
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสำหรับผู้ดูแลเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ |
|
dc.title.alternative |
A trining curriculum development in children with intellectul disbilities for Cregiver Specil Eduction Centre |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
These purposes of the study were to: 1) Develop a curriculum for disability children care giver at special education center, 2) To evaluate the effectiveness of the implementation of the developed curriculum, and 3) To follow through the utilization of the knowledge gained from the training. The samples were 25 care givers at the special education center, selected by simple random sampling. The curriculum implementation lasted for 22 hours. The tools for data collection were the knowledge test, skill assessment test, and attitude assessment. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation and t - test. The study was done in 4 phases: 1) the fundamental data collection and analysis, 2) The curriculum design and development, 3) The curriculum implementation, and 4) The follow through phase.
It was found that;
1. The training curriculum was developed with highest quality, it is appropriate and met the needs of the trainees, applicable for the implementation.
2. The post test scores of the trainees were significantly higher than the pretest scores at
the .05 significant levels. The skill of the care giver after the training was at the highest level. The attitude of the care gives after the training was significantly higher than the pre-training at the .05 significant levels.
3. The follow through phase revealed that after two weeks of the training the care givers possessed more knowledge on taking care of the disabilities, gaining more skills, and developing better attitude towards the disability children. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
หลักสูตรและการสอน |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|