DSpace Repository

กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมุทร ชำนาญ
dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author แสงเดือน อาจหาญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-01-25T08:46:50Z
dc.date.available 2024-01-25T08:46:50Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12645
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับ สภาพปัญหา และหากลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น 552 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีจำนวน 2 ส่วน ส่วนที่ 1 มี 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .57-.85 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 ฉบับที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลฉบับที่ 1 และส่วนที่ 2 ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างใช้ในการสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อหากลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) สรุปผลการอภิปรายนำเสนอเป็นความเรียงในรูปการบรรยายเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำแนกตามสถานภาพของผู้ให้ข้อมูล พบว่า 1) ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในด้านการตัดสินใจ และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการน้อยที่สุด 2) ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในด้านการประเมินผล และมีส่วนร่วมในผลประโยชน์น้อยที่สุด 3) ครูมีส่วนร่วมในด้านการประเมินผลมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และมีส่วนร่วมในการผลประโยชน์มากที่สุด และ 4) ผู้อำนวยการโรงเรียนมีส่วนร่วมในด้านการตัดสินใจมากที่สุด ส่วนที่ 2 กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การระดมพลังสมองสองมือสร้างภาพลักษณ์ใหม่แห่งโลกอนาคต กลยุทธ์ตลาดนัดวิชาการ กลยุทธ์การสร้างระบบการประเมินผลในหลายมิติ กลยุทธ์การปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุก กลยุทธ์การส่งเสริมคลังความรู้ให้กับชุมชน และกลยุทธ์ การสร้างแรงจูงใจและรางวัลทางสังคม ตามลำดับ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โรงเรียนขนาดเล็ก -- การบริหาร -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
dc.subject ชุมชนกับโรงเรียน
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject การศึกษาขั้นประถม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2
dc.title.alternative Community prticiption strtegies on eductionl dministrtion in smll schools under Chnthburi Primry Eductionl Service Are Office 2
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research is the research mix. The aim is to study Problems and Strategies the participation of communities in the management of small schoolsPrimary Educational Service Area Office 2 Chanthaburi District The sample used in this study include school administrators, teachers Chairman of Basic education A total of 552 people The tools used to collect data There are 2 parts part 1 a query about the scale level 5 the discrimination between. 57 to .85 the confidence of the whole. 98 part 2 A structured interviews for information qualitative data confirmed by quantitative data analysis, part 1, and part 2 used to collect qualitative data. Structured interviews are used in the discussion group (Focus Group ) to find out strategy The participation of communities in the management of small schools the statistics used for data analysis were frequency Percentage, mean ( X ) and standard deviation (SD) and content analysis (Content Analysis) summary of the debate presented a composition in the form of lecture content. The results were as follows: Part 1 The analysis of the level of community involvement in the education of the community in the management of small schools. Primary Educational Service Area Office 2 Chanthaburi District by status of the data found 1) parents are involved in decision-making. and participate in the operation least 2) chairman of basic Education to participate in the evaluation and participate in the benefits least 3) teachers participating in the evaluation. Engage in missions And participate in the benefits most 4) Superintendent of Schools to participate in decision-making most Part 2 Strategies to engage the community in the education of school small town. 7 strategies include strategic brainstorming hands create a new image of the future strategic Market Research Strategy evaluation systems in several dimensions. Learn how to adjust teaching strategies strategic use of digital technology to promote proactive strategies to promote knowledge to the community. And strategies for motivating and rewarding way respectively.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account