DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบเธรด (Threaded) เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมสิทธิ์ จิตรสถาพร
dc.contributor.advisor ไพโรจน์ เบาใจ
dc.contributor.author ชญาชล สิริอัครบัญชา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-01-25T08:46:47Z
dc.date.available 2024-01-25T08:46:47Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12629
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบเธรด (Threaded) เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน 2) เพื่อประเมินทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหลังการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนฯ 3) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนฯ 2 สัปดาห์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเจาะจงจากนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ จำนวน 30 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 10 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดนวัตกรรมทางการศึกษาที่จะทำการวิจัยและพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบขั้นต้น (ร่าง)รูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 3 การหาคุณภาพร่างรูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ครั้งที่ 1 ทดลองแบบเดี่ยว ขั้นตอนที่ 5 ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนครั้งที่ 1 ขั้นตอนที่ 6 ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนครั้งที่ 2 ทดลองแบบกลุ่ม ขั้นตอนที่ 7 ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ครั้งที่ 2 ขั้นตอนที่ 8 ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ครั้งที่ 3 ทดลองภาคสนาม ขั้นตอนที่ 9 สรุปผลและอภิปรายผล ขั้นตอนที่ 10 รับรองรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติในการวิจัยใช้ t-test แบบ Dependent group ผลการวิจัยพบว่า 1)รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบเธรด เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน มีองค์ประกอบทั้งสิ้น 4 องค์ประกอบหลัก 15 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การวิเคราะห์และออกแบบ มี 8 ขั้นตอนย่อย องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการสอน มี 4 ขั้นตอนย่อย องค์ประกอบที่ 3 ผลลัพธ์ และองค์ประกอบที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ มี 3 ขั้นตอนย่อย 2) ผลการประเมินทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหลังการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนฯ สูงกว่าก่อนการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนฯ ที่ระดับนัยสำคัญ .05 3) ผลการประเมินความคงทนในการเรียน พบว่า คะแนนประเมินทักษะหลังเรียนแตกต่างจากคะแนนประเมินทักษะหลังเรียน 2 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบเธรด อยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.69
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject Science and Technology
dc.subject เทคโนโลยีสารสนเทศ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
dc.subject นักศึกษาพยาบาล
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.title การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบเธรด (Threaded) เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน
dc.title.alternative The development of threded integrted instruction model to enhnce informtion technology skill for nursing students of privte university
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to: 1) to develop threaded integrated instruction model to enhance information technology skill for nursing students of private university. 2) to study information technology skills after learning and teaching with the threaded integrated instruction model. 3) to study the retention learning of the students after learning and teaching with the threaded integrated instruction model 2 weeks ago. 4) to study the student’s satisfaction in the threaded integrated instruction model to enhance information technology skill for nursing students of private university. The sample of this research is thirty nursing student's that using by the purposive sampling. This research is the research and development process, there are 10 steps. 1) studying the information and documents to define with educational Innovation. 2) developing the composites of the threaded integrated instruction model. 3) finding quality of the threaded integrated instruction model. 4) one to one testing of the threaded integrated instruction model. 5) revising the instruction model No1. 6) small group testing of the threaded integrated instruction model. 7) revising the instruction model No2. 8) field testing of the threaded integrated instruction model. 9) summarizing and discussing 10) validating the instruction model by the expert. The statistic of this research is t-test in the dependent group. The research results are showed. 1) The threaded integrated instruction model for developing the information technology skills of nursing students of a private university, there are 4 main component with 15 steps. There are, the first element is analysis and design those include with 8 steps, second element include with 4 steps, third element is result and four element is analysis for the feedback information with 3 steps. 2) The results of the information technology skills assessment post-test scores is higher than the pre-test scores with statistical significance at the level of 05. 3) The results of learning retention showed the last post-test score is differ the two weeks ago of post-test scores with statistical significance at the level of 05. 4) The mean of satisfaction of the sample group was at a rather high level of 4.69.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline เทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account