dc.contributor.advisor |
ธร สุนทรายุทธ |
|
dc.contributor.advisor |
บุปผา ศิริรัศมี |
|
dc.contributor.author |
พิสิษฐ ภู่รอด |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-01-25T08:46:47Z |
|
dc.date.available |
2024-01-25T08:46:47Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12627 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนดีเด่นขนาดเล็กของรัฐโรงเรียนบ้านแขวงกลั่น (จี๊ด น้อยใจบุญบำรุง 2) โดยใช้เทคนิคการวิจัยการเชิงคุณภาพ ซึ่งมีประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ แนวทาง และค้นหารูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษา โดยทำการศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 58 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ระดับลึกการสนทนากลุ่ม และการสังเกตและจดบันทึก
ผลการวิจัยพบรูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนดีเด่นขนาดเล็กของรัฐมีแนวคิดในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 1) ความสำคัญของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย2) การอำนวยความสะดวก 3) การสร้างความสัมพันธ์ 4) การสร้างความศรัทธาของผู้บริหารและครู มีหลักการระดมทรัพยากร 3 หลักการ คือ 1) หลักความร่วมมือ ประกอบด้วยการรับรู้ถึงปัญหาของทุกฝ่ายที่จะร่วมกันคิด ตัดสินใจและให้ข้อเสนอแนะการตัดสินใจการลงมือกระทำ ตามกระบวนการและตัดสินใจ เป็นการนำข้อตกลงที่ได้ตัดสินใจเลือกตามแผนที่วางไว้มาลงมือกระทำตามเป้าหมายร่วมกัน หลังจากนั้นจะดำเนินการติดตามตรวจสอบผลงานที่ทำร่วมกัน รวมทั้งการร่วมกันประชุมปรึกษาหารือหรือปรับปรุงแก้ไขพัฒนางานให้ดีขึ้น และการรับผลประโยชน์เป็นเจ้าของร่วม เกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม 2) หลักภาวะผู้นำแบบเพื่อนแท้ของผู้บริหารสถานศึกษา 3) หลักการบริหารแบบบ้านแขวงกลั่นที่มีลักษณะเฉพาะของโรงเรียน ประกอบด้วย การศึกษาถึงพฤติกรรมการระดมความคิด เพื่อให้ได้ข้อมูลในการตัดสินใจและร่วมกันวางแผน ใช้องค์ความรู้ที่เกิดจากการร่วมกันศึกษา ค้นคว้า ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในโรงเรียนมาสร้างให้เกิดองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและกำหนดกุญแจสู่ความสำเร็จของคณะทำงานที่ร่วมกันดำเนินการ และเกิดแนวทางในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 2 แนวทาง คือ 1) คณะกรรมการดำเนินงาน และการบริหารจัดการในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน คำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
Humanities and Social Sciences |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.subject |
โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร |
|
dc.subject |
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก |
|
dc.subject |
โรงเรียนขนาดเล็ก -- การบริหาร -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
|
dc.title |
รูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนดีเด่นขนาดเล็กของรัฐ |
|
dc.title.alternative |
Mobiliztion model of eductionl resources for smll size school |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study was to investigate the mobilization model of educational resources for small size school BANKWANGKRAN. The research instruments for the data collection consisted of the qualitative research of the model and the process of mobilization model of educational resources for small size school. The purposive sampling was used to select the samples of 58 key informances in school and community. Document study, in-depth interviews, focus group discussions, observations and field-note were adopted as the methods for the data collection.
The results of the study revealed as follows: Mobilization models of educational resources for small size school comprised of with the idea of raising the educational resources that 1) the importance of the involvement of all parties 2) facilitation 3) building relationships, 4) build the faith of administrators and teachers. A third principle is the principle resource mobilization 1) The Cooperation consists of perception the issue of all parties to share ideas. Decisions and recommendations Decisions of action process and decision. The implementation agreement was deciding planned to act as a common goal. After the operation Monitoring work together. The joint consultation meetings or revised. Develop better And beneficiaries and co-owner was proud to be a part of creating something different. A material 2) True good friend leadership of school administrators 3) Principles that are unique to the school district Distillery include the behavior of brainstorming. To make informed decisions and plan together. Knowledge resulting from a joint study of the involved parties in building a body of knowledge to contribute to the success (Key). the work of the joint action. And an educational approach in mobilizing two ways: 1) Operations Committee. And Management to build a relationship with the community. Taking into account the role of stakeholders. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|