dc.contributor.advisor |
กาญจนา พิบูลย์ |
|
dc.contributor.advisor |
ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์ |
|
dc.contributor.author |
นัยรัตน์ ครองชนม์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-01-25T08:45:03Z |
|
dc.date.available |
2024-01-25T08:45:03Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12612 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายไทเก็กต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีความรุนแรงของโรคระดับ 1 และ2 จำนวน 70 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายไทเก็กเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์อาการและอาการแสดงของโรคทางเดินหายใจ แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกายแบบสัมภาษณ์ ความคาดหวังผลดีจากการออกกำลังกาย แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการออกกำลังกาย ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์และ Wright peak flow meter วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measure anova) วิเคราะห์ความแตกต่างของสัดส่วนด้วยการทดสอบความน่าจะเป็นแบบเอกแซกต์ (Exact probability test) และวิเคราะห์ค่าโอกาสสัมพัทธ์ด้วยสถิติถดถอยพหุแบบลอจิสติก (Multiple logistic regression) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระยะติดตามผลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกาย คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการออกกำลังกาย คะแนนเฉลี่ยอาการและอาการแสดงของโรคทางเดินหายใจ ดีกว่าระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะก่อนทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.01 2. ระยะติดตามผลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของ FEV1, FVC และ PEF ดีกว่าระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.01 3. ระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มทดลองมีสัดส่วนคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกายและสัดส่วนคะแนนพฤติกรรมการออกกำลังกายดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.01 4. โอกาสสัมพัทธ์ของการไม่มีอาการและอาการแสดงของโรคทางเดินหายใจในกลุ่ม ทดลอง หลังควบคุมความแตกต่างของเพศ อายุ การสูบบุหรี่ และระยะเวลาการเจ็บป่วยพบว่า ระยะ ติดตามผลการออกกำลังกายไทเก็กสามารถลดโอกาสการเกิดเสมหะในปอด มีความมั่นใจที่จะ ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านไม่รู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย (OR = 5.82, CI = 1.86-18.22, OR = 10.81, CI = 2.14-54.46, OR = 4.05, CI =1.39-11.81) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p<0.05) จากผลการศึกษาพบว่า การออกกำลังกายด้วยไทเก็ก สามารถคงสมรรถภาพปอดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ ดังนั้นการออกกำลังกายด้วยไทเก็กจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้ให้บริการสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทั้งในสถานบริการพยาบาลและในชุมชนได้ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง -- ผู้ป่วย |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ |
|
dc.subject |
Health Sciences |
|
dc.subject |
ปอดอุดกั้น -- ผู้ป่วย |
|
dc.subject |
การออกกำลังกาย |
|
dc.title |
ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายไทเก็กต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี |
|
dc.title.alternative |
Fctors relted to the knowledge of occuptionl helth nd sfety lw mong the dministrtors in the smll enterprises in chonburi province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Quasi-experimental research was aimed to study the effect of Tai chi exercise program on exercise behavior and pulmonary function among patients with the first and second stages of chronic obstructive pulmonary. Seventy COPD patients participated in this study and were equally divided into treatment and control groups. Thirty five patients were randomly assigned to each group. The treatment group received Tai Chi exercise program, while the control group received usual nursing care program. Research tool consisted of three parts: Tai chi exercise program, spirometer and wright peak flow meter and questionnaires. The collected data were analyzed by using descriptive statistics, repeated measure anova, exact probability test, and multiple logistic regressions. The results showed as follows: 1. After follow up period in the treatment group, self-efficacy, exercise behavior, and the average score of signs and symptoms of respiratory system were higher than the average score in post intervention period and pre intervention period and higher than the average score of control group respectively (p < 0.01). 2. After follow up period in the treatment group, the average score of FEV1, FVC, and PEF were higher than the average score in post intervention period and pre intervention period respectively (p < 0.01). 3. After treatment and follow up period in the treatment group, the ratio scores of self- efficacy and exercise behavior were higher than the ratio score of control group respectively (p<0.01). 4. After follow up period, after control sex, age, smoking, and duration of COPD illness found that Tai chi exercise could reduce phlegm in lung, improve self-confidence for living outside and less of exhausted and weakness in the treatment group.(OR = 5.82, CI= 1.86-18.22, OR = 10.81, CI = 2.14-54.46, and OR = 4.05, CI = 1.39-11.81 respectively). In conclusion, Tai chi exercise can improve pulmonary function and improves the quality of life of chronic obstructive pulmonary disease patients so that Tai chi exercise is an alternative program that health care providers can use to promote health and wellness among COPD patients in both hospital and community. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การสร้างเสริมสุขภาพ |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|