DSpace Repository

ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จังหวัดกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor นิภา มหารัชพงศ์
dc.contributor.advisor ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม
dc.contributor.author วิไลลักษณ์ จันทร์แผง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-01-25T08:45:01Z
dc.date.available 2024-01-25T08:45:01Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12606
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรม การใช้เครื่องสำอางของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จังหวัด กรุงเทพมหานคร โดยประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรค กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่ม จำนวน 2 โรงเรียน โดยแบ่งเป็นโรงเรียนที่เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โรงเรียนละจำนวน 35 คนเท่า ๆ กัน ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ 9 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นระยะที่กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ จำนวน 5 สัปดาห์ และระยะติดตามผล จำนวน 4 สัปดาห์ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคประกอบด้วย การรับรู้ ความรุนแรงของการใช้เครื่องสำอางอันตราย การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเลือกใช้เครื่องสำอาง ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการเลือกใช้เครื่องสำอาง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการเลือกซื้อเครื่องสำอาง และความตั้งใจในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการใช้เครื่องสำอางอันตราย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาแสดงเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Independent t-test และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันเครื่องสำอางอันตราย และความคาดหวังผลลัพธ์ในการป้องกันเครื่องสำอางอันตรายสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < .05) แต่อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มทดลองไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างก่อนและหลังการทดลองในเรื่องความตั้งใจปฏิบัติ ตนป้องกันเครื่องสำอางอันตราย และกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของทุกตัวแปรภายหลังการทดลอง การจัดโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางและพฤติกรรมเสี่ยงในการเลือกซื้อเครื่องสำอางของนักเรียนสามารถเพิ่มการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความคาดหวังผลลัพธ์และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการป้องกันการใช้เครื่องสำอางอันตราย ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมการเลือกใช้เครื่องสำอางที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject นักเรียน -- การปรับพฤติกรรม
dc.subject นักเรียน -- พฤติกรรม
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ
dc.title ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จังหวัดกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternative Effect of consumer helth promoting progrm on cosmetics usge behvior mong students in secondry eductionl service re office 1 bngkok
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this quasi-experimental study was to evaluate the effect of a consumer health promoting program on cosmetics usage behavior among students based on Protection Motivation Theory in secondary educational service area office 1 Bangkok. The samples were randomly recruited from two schools in secondary educational service area office 1 Bangkok. One school was assigned to an experimental group received the program, and the another school was assigned to a control group, 35 students of each school were randomly recruited into the study groups. The study period was nine weeks with 5 weeks for intervention period and 4 weeks for follow-up period. Data were collected using self-administered questionnaires, developed by the application of the protection motivation theory including perceived severity of harmful cosmetics usage, perceived susceptibility, self-efficacy expectation, outcome expectation of cosmetics usage, and intention to practice of harmful cosmetics usage protection. Statistical analysis was performed by using percentage, mean, standard deviation, Independent t-test, and Paired t-test. The results revealed that, after intervention period the experimental group had significantly higher perceived severity, perceived susceptibility, self-efficacy expectation, and outcome expectation mean scores than the control group (p < 0.05). However, no significant differences in intention to practice of harmful cosmetics usage protection were found between the experimental and the control group. No statistical significant changes were found in the control group. ช The cosmetics usage behavior promoting program had the potential to increase perceived severity, perceived susceptibility, self-efficacy expectation, and outcome expectation in preventing harmful cosmetics usage and leading to have an increasing safe cosmetics usage behavior among students.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การสร้างเสริมสุขภาพ
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account