DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของผู้จำหน่ายผัก อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ยุวดี รอดจากภัย
dc.contributor.advisor นิภา มหารัชพงศ์
dc.contributor.author ศันสนีย์ แก้วดวงเล็ก
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-01-25T08:45:01Z
dc.date.available 2024-01-25T08:45:01Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12605
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผู้จำหน่ายผัก ได้แก่ ความรู้ แรงจูงใจป้องกันโรค แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยนำทฤษฏีแรงจูงใจป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมมาสร้างโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จำหน่ายผัก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 28 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชใช้ระยะเวลาในการวิจัยทั้งหมด 8 สัปดาห์ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรมเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ความรู้ แรงจูงใจป้องกันโรค แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากสารเคมี กำจัดศัตรูพืช วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ แจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองใช้สถิติ Paired t-test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบใช้สถิติ Independent t-test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองหลังการทดลองและหลังติดตามผลมีคะแนนเฉลี่ย ความรู้ แรงจูงใจป้องกันโรค แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และหลังติดตามผลมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากหลังการทดลองแต่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า หลังการทดลองและหลังติดตามผล กลุ่มทดลองมีผลต่าง คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) โดยสรุป โปรแกรมที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมทำให้ผู้จำหน่ายผักปฏิบัติตัวในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูที่ปนเปื้อนในผักดีขึ้น ดังนั้นสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับผู้จำหน่ายผักในพื้นที่อื่นหรือเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject Science and Technology
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.subject สารเคมีทางการเกษตร
dc.subject สารกำจัดศัตรูพืช
dc.subject อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
dc.subject ยากำจัดวัชพืช
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.title ผลของโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของผู้จำหน่ายผัก อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง
dc.title.alternative Effect of protective prctice progrm on pesticides hzrds mong vegetble seller, khochmo distrct, ryong province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this study is to examine the effective of protective practice program on pesticide hazard among vegetable seller including the knowledge, motivation, social motivation, and the behavior for pesticide hazard protection. One of the target groups is experimental group containing the 25 persons and the duration of the eight week study consisted of all six events. The latter is compare group containing the 28 persons who are not receive this program. Data were collected using a questionnaire developed. Have general information, knowledge, protective disease motivation, social support, and behavior for protection of the pesticide hazard. The descriptive statistic, percentage, mean, standard deviation, independent sample t-test, and the pair sample t-test will be investigated for this study. The study found that after the experiment and follow-up scores. The experimental group had an average score of knowledge, protective disease motivation, social support, and behavior for protection of the pesticide hazard. The results showed that the mean score of significantly higher than before the experiment (p<0.05) and follow-up scores increased after the experiment. But the increase was not different. The comparison between the experimental group and the compare group. The study found that after the experiment and follow-up scores of the experimental group was statistically and significantly increased when compared to the comparison group (p<0.05) In conclusion, this finding showed that the application of Protection Motivation Theory and Social Support should prevent the vegetable seller from chemical pesticides. Thus, it is recommended that this program should be applied and extended to the other similar vegetable seller in other areas or farmers who cultivate plants of various kinds.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account