dc.contributor.advisor |
ภัทราวดี มากมี |
|
dc.contributor.author |
เพ็ญแข บุญสอน |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
|
dc.date.accessioned |
2024-01-25T08:41:10Z |
|
dc.date.available |
2024-01-25T08:41:10Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12493 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดพฤติกรรมคิดก้าวหน้า ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดพฤติกรรมคิดก้าวหน้า และหาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของพนักงานโรงงานบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมในจังหวัดชลบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานโรงงานบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมในจังหวัดชลบุรี จำนวน 456 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ลักษณะคำตอบเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้น โดยใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองด้วยโปรแกรม Mplus และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฏว่า
1. โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (ค่าไคสแควร์ เท่ากับ 634.290 ค่า df เท่ากับ 589 ค่า P เท่ากับ .096 ดัชนี TL/ เท่ากับ .993 ดัชนี CFI เท่ากับ .995 ค่า SRMR เท่ากับ .032 ค่า RMSEA เท่ากับ .013 และ x ' /df เท่ากับ 1.077)
2. โมเดลการวัดพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของพนักงานโรงงานบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมในจังหวัดชลบุรีที่พัฒนาขึ้น แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมคิดก้าวหน้าของพนักงาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ
เรียงตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ดังนี้ ด้านความริเริ่มส่วนบุคคล ด้านบุคลิกภาพเชิงรุก ด้านความ
รับผิดชอบแก้ปัญหาด้วยตนเอง และด้านขอบเขตการรับรู้ความสามารถของตน ตามลำดับ
3. แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของพนักงานโรงงานบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียม
ในจังหวัดชลบุรี ควรดำเนินการ 3 วิธี คือ 1 ปรับเจตคติให้พนักงานเปิดใจและคิดบวก 2) เปิดโอกาสให้
พนักงานแสดงความคิดเห็นและความสามารถในการปรับปรุงวิธีการทำงาน และ 3) สร้างแรงจูงใจใน
การพัฒนาพฤติกรรมคิดก้าวหน้า สรุปได้ว่า การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของพนักงานโรงงานบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมในจังหวัดชลบุรี ควรให้ความสำคัญกับการปรับเจตคติให้พนักงานเปิดใจและคิดบวกเป็นอันดับแรก |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
การควบคุมตนเอง |
|
dc.subject |
ความสามารถในตนเอง |
|
dc.subject |
Humanities and Social Sciences |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.subject |
การควบคุม (จิตวิทยา) |
|
dc.subject |
โรงงานบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียม -- พนักงาน |
|
dc.subject |
การพัฒนาบุคลิกภาพ |
|
dc.title |
การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของพนักงานโรงงานบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมในจังหวัดชลบุรี : การวิจัยแบบผสานวิธี |
|
dc.title.alternative |
Development of guidelines to promote proactive behaviors in Chon Buri aluminium packaging factory employees: Mixed method research |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were to develop and validate a proactive
behaviors measurement model, and to develop guidelines for promoting proactive
behavior in Chon Buri aluminium packaging factory employees using a mixed method
research paradigm. The research included 1) Quantitative research: the sample was
derived by a proportionate stratified random sampling, consisting of 456 participants
from packaging factory employees in Chon Buri. The research instrument was a fivelevel rating scale questionnaire. The consistence of the hypothetical model was
validated with second-order confirmatory factor analysis using the Mplus program.
2) Qualitative research: a sample was derived by using purposive selection sampling,
and consisted of 12 experts. The research instrument was a semi-structure interview
form, was analyzed and concluded with content analysis.
The results were as follows:
1. The developed model was consistent with empirical data. (Goodness of fit
statistics were Chi-square test ( 2 ) = 634.290, df = 589, p = .096, TLI = .993,
CFI = .995, SRMR = .032, RMSEA = .013 and relative chi-square ( 2 /df) =1.077)
2. The developed proactive behaviors measurement model of Chon Buri
aluminium packaging factory employees indicated that the proactive behaviors of
employees consisted of four factors: Personal Initiative, Preemptive Personality, Taking
Charge, and Role Breadth Self–Efficacy.
3. The guidelines for promoting proactive behavior in Chon Buri aluminium
packaging factory employees should proceed in three phases, that is, 1) adjusting
the attitude of the employee to be open-minded and positive thinking, 2) allowing
employees to express their opinions and to improve the way of work, and
3) motivating them into developing a proactive behavior.
In conclusion, the development of guidelines to promote proactive behaviors in
Chon Buri aluminium packaging factory employees should primarily focus on adjustment
the attitude of the employee to be open-mined and positive thinking. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|