DSpace Repository

การผลิตเครื่องประดับโลหะหลากสีด้วยเทคนิคโมกุเม่กาเน่

Show simple item record

dc.contributor.author ปริญญา ชินดุษฎีกุล th
dc.contributor.author พิมพ์ทอง ทองนพคุณ th
dc.contributor.author ดาวรรณ หมัดลี th
dc.contributor.author อรุณี เทอดเทพพิทักษ์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:04:21Z
dc.date.available 2019-03-25T09:04:21Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1232
dc.description.abstract โมกุเม่กาเน่เป็นเทคนิคที่ใช้โลหะหลายชนิดที่มีสีสันแตกต่างกันในการทำให้เกิดลวดลายบนผิวของแผ่นโลหะที่นำมาทำเครื่องประดับ งานวิจัยนี้เป็นการหาเวลาและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเชื่อมแผ่นโลหะทองแดง เงินสเตอร์ลิง และทองเหลืองให้ติดกันด้วยความร้อนและแรงอัด จากการทดลองเชื่อมโลหะทีละคู่และดูรอยต่อของแผ่นโลหะจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ทำให้ทราบอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการเชื่อมแผ่นโลหะทองแดงกับเงินสเตอร์ลิงคือ 750'c ระยะเวลายืนอุณหภูมิ 2 ชั่วโมง อุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการเชื่อมแผ่นโลหะเงินสเตอร์ลิงกับทองเหลืองคือ 750'c ระยะเวลายืน อุณหภูมิ 1 ชั่วโมง อุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการเชื่อมแผ่นโลหะทองแดงกับทองเหลืองคือ 900 'c ระยะเวลายืนอุณหภูมิ 1 ชั่วโมง และสุดท้ายการเชื่อมโลหะ 3 ชนิดคือ ทองแดง เงินสเตอร์ลิง และทองเหลือง โดยใช้เงินสเตอร์ลิงเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้น อุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการเชื่อมคือ 750 'c ระยะ เวลายืนอุณหภูมิ 2 ชั่วโมง การทดสอบด้วยเทคนิค Line scan Energy Dispersive Spectroscopy แสดงให้เห็นถึงการแพร่ของโลหะที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อของแผ่นโลหะแต่ละชนิด เมื่อได้สภาวะที่เหมาะสมในการทำแท่งโลหะที่ประกอบไปด้วยโลหะต่างชนิดกันแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนในการทำแผ่นโลหะโมกุเม่กาเน่ โดยเริ่มจากการนำแผ่นโลหะต่างชนิดกันมาวางเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ห่อด้วยแผ่นสแตนเลสบางเพื่อลดการสัมผัสกับอากาศ หลังจากนั้นนำห่อสแตเลสใส่ในแคมป์เหล็กเพื่อหนีบให้ผิวหน้าของแผ่นโลหะแต่ละแผ่นติดกัน นำแคมป์เหล็กใส่ในกล่องสแตนเลส์ที่มีถ่านไม้บรรจุอยู่ภายใน ปิดฝาให้เรียบร้อยและนำกล่องสแตลเลสใส่ในเตาไฟฟ้า เมื่อถึงอุณหถูมิและเวลาที่กำหนด นำแคมป์เหล็กออกมาวางบนทั่งเหล็กและใช้ค้อนทุบ รอจนกระทั่งแคมป์เหล็กเย็นลงจึงนำโลหะที่อยู่ในห่อสแตนเลสออกมา ขั้นต่อไปเป้นการทำลวดลายบนแผ่นโลหะซึ่งแบ่งเป็น 2 วิธี คือ 1) การเจาะแท่งโลหะให้เป็นรูปแล้วนำไปรีดให้เป็นแผ่นบาง 2) การบิดแท่งโลหะเป็นเกลียวด้วยความร้อนแล้วนำไปผ่าเป็นสองซีก ขั้นตอนสุดท้ายนำแผ่นโลหะมาประกอบลงบนตัวเรือนเครื่องประดับที่เตรียมไว้ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจาก งบประมาณแผ่นดิน พ.ศ. 2556 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.subject เครื่องประดับโลหะ th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การผลิตเครื่องประดับโลหะหลากสีด้วยเทคนิคโมกุเม่กาเน่ th_TH
dc.title.alternative Multicolored metal jewelry making by Mokeme gane th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2556


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account