dc.contributor.author | กุหลาบ รัตนสัจธรรม | |
dc.contributor.author | วสุธร ตันวัฒนกุล | |
dc.contributor.author | วิไล สถิตย์เสถียร | |
dc.contributor.author | พิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ | |
dc.contributor.author | เอมอร ประจวบมอญ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:45:48Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:45:48Z | |
dc.date.issued | 2543 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/110 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง เพื่อการศึกษาประสบการณ์การใช้บริการ การมีบัตรสวัสดิการหรือการประกันสุขภาพ และความคิดเห็นในการจัดบริการสาธารณสุขระดับต่าง ๆ ในเขต 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือผู้แทน จำนวน 1,000 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากจังหวัดต่าง ๆ ในเขต 3 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการหาความตรงและทดลองใช้แล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และการทดสอบค่าไคกำลังสอง ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนเคยไปใช้บริการและเคยพาคนอื่นไปใช้บริการของสถานบริการระดับจังหวัด มากกว่าระดับอำเภอ และตำบล โดยเคยใช้มากกว่าร้อยละ 50 และมากกว่าร้อยละ 40 ตามลำดับ เคยไปใช้บริการสถานบริการนอกเขตบ้างน้อยกว่าร้อยละ 15 ครอบครัวของประชาชนมีบัตรสุขภาพ ร้อยละ 30.50 มีบัตรเด็กร้อยละ 25.40 และมีบัตรผู้มีรายได้น้อยเพียงร้อยละ 1.7 ประชาชนที่มีบัตรสวัสดิการหรือการประกันสุขภาพ มีความเห็นว่าสิ่งที่ดีมากที่สุดสำหรับสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับคือ เดินทางไปสะดวกและใช้เวลาเดินทางน้อย สิ่งที่ดีมากคือ สถานบริการสะอาดและสิ่งแวดล้อมโดยรอบดี สิ่งที่ดีปานกลางคือ ค่ารักษา คุณภาพยา ผลการรักษา และการส่งไปรักษาต่อ เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติพบว่าผู้ที่มีบัตรฯ มีความเห็นแตกต่างจากผู้ที่ที่ไม่มีบัตรฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 ในเรื่องความทันสมัยของเครื่องมือ ค่ารักษา คุณภาพยา ผลการรักษา การส่งต่อ ขั้นตอนการรับบริการ และเวลารับบริการ ประชาชนทุกระดับการศึกษามีความเห็นว่าสิ่งที่ดีมากที่สุดและดีมากสำหรับสถานีอนามัยคือ การใช้เวลารอรับบริการน้อย ขั้นตอนการรอรับบริการไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาเดินทางไปรับบริการน้อยและสะดวก สถานที่สะอาด สิ่งที่ดีมากที่สุดและดีมากสำหรับสถานบริการระดับจังหวัดคือ เดินทางไปสถานบริการสะดวก แพทย์มีมนุษย์สัมพันธ์ดี เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ <0.05 คือ ผู้ที่มีการศึกษาน้อยมีความคิดเห็นแตกต่างจากผู้ที่มีการศึกษาสูงในบริการของสถานบริการระดับจังหวัดคือ เรื่องค่ารักษา การเลี้ยงไข้ มนุษย์สัมพันธ์ของพยาบาลและเจ้าหน้าที่ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมโดยรอบสถานบริการ ส่วนความคิดเห็นที่แตกต่างต่อโรงพยาบาลชุมชน คือการรักษาหาย การส่งไปรักษาต่อ และความสะอาดของโรงพยาบาล และความคิดเห็นที่แตกต่างต่อสถานีอนามัย คือ มนุษย์สัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ ประชาชนทุกระดับรายได้ มีความเห็นว่าสิ่งที่ดีมากที่สุดและดีมากสำหรับสถานีอนามัยคือ การใช้เวลารอรับบริการน้อย ขั้นตอนการรอรับบริการไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาเดินทางไปรับบริการน้อยและสะดวก สถานที่สะอาด เจ้าหน้าที่มนุษย์สัมพันธ์ดี และสิ่งแวดล้อมโดยรอบดี สิ่งที่ดีมากสำหรับโรงพยาบาลชุมชนคือ แพทย์มีมนุษย์สัมพันธ์ดีสถานที่สะอาดและสิ่งแวดล้อมโดยรอบดี สิ่งที่ดีมากที่สุดและดีมากสำหรับสถานบริการระดับจังหวัดคือ เดินทางไปสถานบริการสะดวก พยาบาลและเจ้าหน้าที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี เครื่องมือที่ใช้ทันสมัย สถานที่สะอาดและสิ่งแวดล้อมโดยรอบดี เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 คือ ผู้ไม่มีหนี้สินมีความคิดเห็นต่อสถานบริการระดับจังหวัดแตกต่างจากผู้มีหนี้สินในเรื่องค่ารักษา คุณภาพยา ผลการรักษาและเวลาเดินทางไปรับบริการ ส่วนความคิดเห็นที่แตกต่างต่อโรงพยาบาลชุมชนคือค่ารักษา คุณภาพยา ผลการรักษา และเครื่องมือทันสมัย ดังนั้นจึงควรหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้ประเด็นความคิดเห็นดังกล่าวประกอบในการแก้ไขปัญหา | th |
dc.description.sponsorship | ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขเขต 3. | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | บริการการพยาบาล | th_TH |
dc.subject | บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล | th_TH |
dc.subject | บริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดบริการสาธารณสุขในสถานบริการสาธารณสุขเขต 3 | th_TH |
dc.title.alternative | The survey of population's opinions toward health care services in public health region III | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2543 | |
dc.description.abstractalternative | This research is a cross-sectional study designed to find out health service. social welfare or health insurance utilizes. The opinions of those users are identified in this study. The samples are 1000 household leaders or representatives of the families. The multi-stage sampling is employed to identify the samples from Eastern region. The questionnaire is constructed, tested for validity and used. The analysis of data is done by using frequencies. percentage and Chi-square test. The results of the study are shown as follows: It was found that the number of people who used health service for themselves including taking others to receive the services at the provincial health level were more than 50% and 40% respectively which higher than lower health facilities. In addition, less than 15% of the sample reported using health service out of their zone, 30.5% held health card 25.4% had children health card and 1.7% had low income cards. The people who had welfare or health insurance benefits had shown their best opinions toward public health services at every level on travel convenience and less time consuming. Good opinions had on clean areas and environmental surroundings of those facilities. Fair opinions were on treatment cost, medicine quality, treatment result, and referring. The comparison of the people who had welfare or health insurance benefit and who had none the result showed a statistically significant difference at level < 0.05 toward moderm equipments, treatment cost, medicine quality, treatment result, referring, procedure on delivery service and waiting time The people on every educational levels had reflected their best and good opinions toward the health centers in short waiting time simple procedure on delivery service, less time travel consuming and convenience, neat and clean areas. The best and good opinions toward the provincial health levels were on travel vonvenience, physician and patient relationship. The comparison between each level of education of the service users. the results had shown a statistical significant difference at level < 0.05 that low educated people differ from high educated people on the categories of treatment cost, prolonged treatment, nurse/staff and patient relationship including environmental surroundings of health service facilities. The difference opinions toward the community hospitals were found on the success of cure, referring and clean hospitals. The difference opinions toward the health centers were on staff and patient relationship. The people on every level of income expressed their best and good opinions toward the health centers in the area of short waiting time,simple service procedure. travel convenience and save time, clean area,good staff and patient relationship and good environment surroundings. The best and good opinions toward the provincial health services were on travel convenience, nurse/staff and patient relationship, modern equipment, clean area and good environment surroundings. The comparison of health consumers who had debt and those who had no debt, the statistical significant difference was shown was shown at level < 0.05 on the aspects of treatment cost, medicine quality,treatment result and time travel consuming. Moreover, the difference opinions toward the community hospitals wear found on the aspects of treatment cost, medicine quality, treatment result and modern equipments. Thus, the results of study suggest that the initiation for problem solving should be started by using the finding opinions that reflected in this study. | en |