Abstract:
ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย
ในปัจจุบันสังคมคงจะอยู่รอดได้ยาก ถ้ามีเด็กผู้หญิงอายุ 12 ปีออกจากโรงเรียนเพราะต้องไปเลี้ยงลูก เด็กอายุ 15 ติดสุรา สูบบุหรี่ และยาเสพติดต่างๆ ใช้ความรุนแรงตบตีกัน เด็กอายุ 17 ปี ยังอ่านยังหนังสือไม่ออก ปัญหาเหล่านี้ในปัจจุบันยิ่งทวีความรุนแรงและแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาทางสังคมและสาธารณสุขที่สำคัญในเยาวชนทั้งในต่างประเทศและประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบตามมามากมาย เช่นปัญหาการใช้ความรุนแรง อุบัติเหตุต่างๆ ที่สำคัญคือ ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับโรคเอดส์ในเยาวชนโดยตรง เนื่องจากเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญในการเฝ้าระวังการระบาดในระยะต่อไป ซึ่งผลกระทบกับสังคมและประเทศชาติในวงกว้าง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาเราพบว่าได้มีความพยายามทุกระดับในการแก้ปัญหาเอดส์ แต่ปัญหาก็ยังคงอยู่และมิได้มีแนวโน้มที่จะลดลง ถ้าพิจารณาจากแนวโน้มพฤติกรรมเสี่ยงของเยาวชนที่ยังเป็นปัญหา นั้นคือกลยุทธ์การแก้ปัญหายังมองภาพของเยาวชนเป็นพฤติกรรมเฉพาะเรื่อง ซึ่งในความเป็นจริงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ นั้นมีความเหี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน การมองวิธีการป้องกันปัญหามากกว่าการมุ่งลดปัญหา จะเป็นทางเลือกใหม่ในการแก้ปัญหาดังนั้นกลวิธีป้องกันปัญหาเชิงบวก (Positive Development) เป็นวิธีการที่มองปัญหาเชิงระบบมากกว่าการแยกส่วน จะช่วยในการทบทวนกลวิธีในการพัฒนามิติด้านต้นทุนชีวิตด้านต่าง ๆ ของเยาวชน ผู้วิจัยจังได้ดำเนินโครงการศึกษานำร่องพฤติกรรมเสี่ยงและต้นทุนชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดชลบุรี โดยโครงการนี้เป็นระยะที่ 1 ของโครงการพัฒนาระบบเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ จังหวัดชลบุรี กลุ่มเยาวชนสถานศึกษา
กลวิธีการดำเนินการ
การศึกษาเชิงสำรวจ พฤติกรรมเสี่ยงและต้นทุนชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดชลบุรี แหล่งประชากร และกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนในระดับช่วงชั้น 3 (ม.1-ม. 3) สังกักกรมสามัญสำนักงานคระกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในเขตอำเภอเมือง จ.ชลบุรี โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงมา เป็นโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จ.ชลบุรี สังกัดกรมสามัญศึกษา สุ่มเลือกห้องเรียนจากนักเรียนในระดับช่วงชั้น 3 (ม.1-ม.3) ทั้งหมด 22 ห้องเรียน จำนวน 873 คน ได้มา 8 ห้องเรียนจำนวน 280 คน เก็บตัวอย่างทุกคนในห้องเรียนตามความสมัครใจ โดยตอบแบบสอบถามประมาณ 30 นาที ตอบแบบสอบถามเป็นแบบอ่านและตอบเอง โดยตอบในห้องเรียนที่ไม่อนุญาตให้อาจารย์อยู่ด้วยขณะตอบ และไม่ระบุชื่อของผู้ตอบ เก็บข้อมูล เดือนธันวาคม 2552 กลุ่มตัวอย่างเป็น เพศชาย ร้อยละ 66 เพศหญิง ร้อยละ 34 ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาทีที่ 1 และ 2 พอ ๆ กัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง คือเกรดเฉลี่ยนอยู่ในช่วง 2.5-3.00 มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 33.2 รองลงมามีเกรดเฉลี่ยนอยู่ในช่วง 2.00-2.49 คิดเป็นร้อยละ 29.29
แบบสอบถามต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนไทย (Development Assets) ได้รับการพัฒนาโดยแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชนปี 2551 ประกอบด้วยตัวชี้วัด 48 ข้อในด้านด่าง ๆ ดังนี้
1. พลังตัวตน เป็นการรวมพลังคุณค่าในตนเอง พลังสร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นในตนเองและพลังการสร้างทักษะชีวิตอันได้แก่ การอยู่ในสังคมอย่างสันติสุข การช่วยเหลือผู้อื่น การมีจุดยืนที่ชัดเจน รักความยุติธรรม ไม่แย่งแยกชนชั้น ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การมีวินัยในตนเองที่จะไม่ข้องเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยง
2. พลังครอบครัว เป็นพลังความรัก ความเอาใจใส่ วินัยและการมีชีวิตที่เป็นแบบอย่าง มีการติดตามและช่วยเหลือที่เหมาะสมเชิงบวก มีปิยวาจาในบ้าน มีความอบอุ่นและปลอดภัย
3. พลังสร้างปัญญา เป็นพลังความมุ่งมั่นในการเพิ่มพลังปัญญา ได้รับการสนับสนุนและส่งเริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษา รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. พลังเพื่อนและกิจกรรม เป็นพลังการทำกิจกรรมในหมู่เพื่อนๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน เกิดวินัยในหมู่เพื่อน ได้แก่ กิจกรรมออกกำลังกาย การเล่นกีฬา สันทนาการนอกหลักสูตร
5. พลังชุมชน เป็นพลังของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความเออาทร มีความเข้าใจ เป็นมิตรไมตรีมีวินัย เป็นแบบอย่างทีดี มีปิยวาจา มีจิตอาสา มีความอบอุ่นความปลอดภัยภายในชุมชน และมีกิจกรรมร่วมกัน
ผลการศึกษา
พฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศพบว่า ร้อยละ 11.8 มีประสบการณ์การมีเพสสัมพันธ์แล้ว และส่วนใหญ่ร้อยละ 60.7 มีแฟนแล้ว ร้อยละ 23.57 ดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นบางครั้ง และเคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 12.14 ซึ่งจะพบว่าพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ของเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นค่อนข้างสูงกว่าข้อมูลระดับประเทศ
ต้นทุนชีวิต
ด้านพลังตัวตนจะพบว่าข้อที่น้อยกว่าเกณฑ์ 60 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวน 6 ข้อ ได้แก่ ข้อ 2, 3,4,7,11,12 ซึ่งเมื่อพิจารณาตามคุณลักษณะจะพบว่า ข้อ 2, 3,4 เป็นข้อที่สะท้อนคุณลักษณะด้านประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรม ส่วนข้อ 7,11,12 จะเป็นตัวแทนของคุณลักษณะด้านทักษาชีวิตนั้นคือ เด็กนักเรียนมีต้นทุนด้านทักษะชีวิต คุณธรรม จริยธรรม และประชาธิปไตยยังไม่เพียงพอที่จะเป็นต้นทุนชีวิต
ด้านพลังครอบครัว พบว่า ข้อทีน้อยกว่าเกณฑ์ 60 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ข้อ 30,33,34 ฉันทำการบ้านหรือทบทวนบทเรียนทุกวัน ฉันใฝ่รู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของชุมชนและ ฉันสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสื่อ เช่น วิทยุ ทีวี สื่อ ประเภทอื่นๆ กับครูเป็นประจำ
ด้านพลังชุมชน พบว่า ข้อที่น้อยกว่าเกณฑ์ 60 เปอร์เซ็นต์ ทุกรายการ ข้อตั้งแต่ 41-48 ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าพลังด้านชุนชมเป็นต้นทุนชีวิตที่ต่ำสุด
ความสัมพันธ์ของต้นทุนชีวิตด้านต่างๆ กับพฤติกรรมเสี่ยง
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของต้นทุนชีวิตกับพฤติกรรมเสี่ยง พบว่า เด็กนักเรียนที่มีพลังเพื่อนที่อ่อนแอ มีโอกาสเสี่ยงที่จัมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ (OR=2.48, 95% CI 0.98-6.27) การสูบบุหรี่ OR=2.68, 95% CI 1.29-5.55 และการดื่มสุรา (OR = 2.27, 95% CI 1.30-3.98) สูงถึงสองเท่าของเด็กนักเรียนที่มีพลังเพื่อนที่เข็มแข็ง
การพัฒนาสมรรถนะผู้เกี่ยวข้อง
การพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ในเยาวชนนั้นต้องคำนึงกลวิธีพัฒนาเชิงบวกและโปรแกรมที่มีหลายองค์ประกอบอย่างบูรณาการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของวัยรุ่น โดยคำนุงถึงองค์ประกอบมิติต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมและพัฒนาการของวัยรุ่น ได้แก่ ต้นทุนชีวิตด้านครอบครัว เพื่อน โรงเรียนและชุมชน ดังนั้นการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ จึงจำเป็นที่ต้องพัฒนาสมรรถนะ ผู้เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมให้เกิดพลังต้นทุนชีวิตที่เป็นส่วนขาดในเยาวชนให้มีความสมบูรณ์ขึ้น
สัมฤทธิ์ผลของโครงการ
การศึกษานี้ได้ชี้ให้เห็นปัจจัยเชิงบวก หรือต้นทุนชีวิตด้านต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมของวัยรุ่น ถึงแม้จะศึกษาในกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กก็ตาม ทำให้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ในเยาวชนที่ใช้กลวิธีพัฒนาเชิงบวก ที่เป็นโปรแกรมที่มีหลายองค์ประกอบอย่างบูรณาการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของวัยรุ่น ให้ครบตามองค์ประกอบมิติต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมและพัฒนาการของวัยรุ่น ได้แก่ ต้นทุนชีวิตด้านครอบครัว เพื่อน โรงเรียนและชุมชน เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมาเป็นการมองที่ปัจจัยเสี่ยงเป็นตัวตั้งด้านเดียวและมองปัญหาเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งและเน้นปัจจัยระดับบุคคลเพียงอย่างเดียว เช่น การพัฒนาทักษะชีวิต โดยละเลยปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมของเยาวชนในสถานศึกษา แต่จากผลการศึกษานี้พบว่าเยาวชนยังมีต้นทุนชีวิตด้านต่างๆ ที่อ่อนแอ ทำให้เยาวชนมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงเพิ่มขึ้น การปรับหลักสูตรการป้องกันเอดส์นั้นควรจะนำแนวคิดการสร้างต้นทุนชีวิตไปบูรณาการในหลักสูตรที่เน้นการป้องกัน โดยต้องคำนึงปัจจัยสร้างระดับ บุคคล ครอบครัว เพื่อน โรงเรียน และชุมชน
ข้อจำกัด
การบริหารจักการภาคีเครือข่ายยังไม่สามารถทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ แสดงศักยภาพดำเนินงานร่วมกันแบบบูรณาการ และมีข้อจำกัดด้านระยะเวลาและงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถที่จะดำเนินการโครงการได้ตามที่วางแผนไว้
การดำเนินการต่อเนื่อง การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน / องค์กรที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินให้ครอบคลุมโดยครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาททำงานอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะ
1. ให้สถาบันการศึกษา บูรณาการการสร้างต้นทุนชีวิตเข้าไปไปในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ เพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยสร้างระดับ บุคคล ครอบครัว เพื่อน โรงเรียน และชุมชน
2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในพื้นที่ สนับสนุนงบประมาณดำเนินงาน รวมทั้งพัฒนาระบบภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย ภาคีด้านการศึกษา โรงเรียน ครูประจำชั้น ครูแนะแนว ชมรมผู้ปกครอง ภาคีด้านสุขภาพและอนามัยเจริญพันธ์และพัฒนาระบบส่งต่อบริการสุขภาพและสังคมที่เป็นมิตรต่อเยาวชน