DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

Show simple item record

dc.contributor.author กาญจนา พิบูลย์ th
dc.contributor.author ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ th
dc.contributor.author Bonnie Callen th
dc.contributor.author เวธกา กลิ่นวิชิต th
dc.contributor.author พวงทอง อินใจ th
dc.contributor.author คนึงนิจ อุสิมาศ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:15Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:15Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1079
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์ (Correlation Study Designs) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกจำนวน 524 คน สามารถสื่อสารและเข้าใจภาษาไทยเป็นอย่างดี ไม่มีปัญหาเรื่องภาวะสมองเสื่อมหรือความจำเสื่อมโดยผู้สูงอายุประเมินความจำเสื่อมหรือการเสื่อมของสมองตามแบบประเมิน Chula Mental Test (CMT) และยินดีให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามในงานวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบสัมภาษณ์ประวัติภาวะซึมเศร้าในครอบครัว แบบสัมภาษณ์ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Chula ADL) แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม (PRQ-85) แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะเครียดในชีวิตประจำวัน (PSS) แบบสัมภาษณ์ความว้าเหว่ (The Loneliness Scale) และแบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (TGDS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) และสเปียร์แมน (Spearman rho Correlation) และสมการพหุแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression) ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับเล็กน้อยร้อยละ 51.7 รองลงมามีระดับภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง ร้อยละ 22.1 และรุนแรงร้อยละ 8.6 ตามลำดับและมีเพียงร้อยละ 17.6 ที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า ปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม รายได้และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (r = -.252, -.405, -.163, -.307 ตามลำดับ p < .01) ในขณะที่ประวัติภาวะซึมเศร้าในครอบครัว ความว้าเหว่และการรับรู้ภาวะเครียดในชีวิตประจำวันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (r = .260, .537, .471 ตามลำดับ p < .01) นอกจากนี้ยังพบว่า ความว้าเหว่ การรับรู้ภาวะเครียดในชีวิตประจำวัน การสนับสนุนทางสังคม ประวัติภาวะซึมเศร้าในครอบครัว การรับรู้ภาวะสุขภาพและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเป็นปัจจัยที่ร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ร้อยละ 49.6 (R2 = .496, P<.01) โดยความว้าเหว่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุด รองลงมาได้แก่ การรับรู้ภาวะเครียดในชีวิตประจำวัน การสนับสนุนทางสังคม ประวัติภาวะซึมเศร้าในครอบครัว การรับรู้ภาวะสุขภาพ และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (Beta) = .341, .217,-.205,.177,-.142 และ -.142 ตามลำดับ th_TH
dc.description.sponsorship ผลงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2551 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ th_TH
dc.title.alternative factors Related to Depression Among Older Adults en
dc.type Research
dc.year 2552
dc.description.abstractalternative The objectives of this study were to examine depression among older adults and to study the factors related to depression among older adults in the Eastern Region of Thailand. The sample was 524 older adults aged from 60 years and over, who were good communications, had no cognitive impairment as assessed by using the Chula Mental Test (CMT), and volunteered to participate in this study. Multistage random sampling was used to select the sample. The instruments were a structure interview and questionnaires. Data were collected by the researchers’ team in their home and at the community health care center. Descriptive statistics, Pearson product moment correlation, Spearman rho correlation and stepwise multiple regression were used in the data analysis. The results revealed that 51.7% of older adults had a mild depressive score, 22.1% a moderate depressive score, and 8.6% had severe depressive score. In addition, perceived health status, social support, income, and functional health status were negatively associated with depression (r = -.252, -.405, -.163, -.307 respectively, p< .01) while family history of depression, loneliness and perceived stress were positively associated with depression (r = .260, .537, .471 respectively, p< .01). Finally, loneliness, perceived stress, social support, family history of depression, perceived health status, and functional health status, were significant factors that combined to account for 49.6% (R2 = .496, P<.01) of variation in depression among older adults. Loneliness was found to be the most influential factor in predicting depression among the older adults. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account