dc.contributor.author |
สุนันทา โอศิริ |
th |
dc.contributor.author |
สุรพล นธการกิจกุล |
th |
dc.contributor.author |
ภัทระ แสนไชยสุริยา |
th |
dc.contributor.author |
แสงอรุณ อิสระมาลัย |
th |
dc.contributor.author |
ศาสตรี เสาวคนธ์ |
th |
dc.contributor.author |
จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ |
th |
dc.contributor.author |
ยุวดี รอดจากภัย |
th |
dc.contributor.author |
ดนัย บวรเกียรติกุล |
th |
dc.contributor.author |
ประยุกต์ เดชสุทธิกร |
th |
dc.contributor.author |
ประภา นันทวรศิลป์ |
th |
dc.contributor.author |
อรพิน รังษีสาคร |
th |
dc.contributor.author |
ศิริพร จันทร์ฉาย |
th |
dc.contributor.author |
เอกลักษณ์ จุ่นเจริญ |
th |
dc.contributor.author |
จุไรรัตน์ ธนเสถียร |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:01:13Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:01:13Z |
|
dc.date.issued |
2550 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1042 |
|
dc.description.abstract |
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
โครงการพัฒนาระบบมาตรฐานคุณภาพชีวิตการทำงานในสถานประกอบการ ระยะที่ 3 มีกรขยายผลจากเดิมทั้งด้านจำนวนสถานประกอบการและพื้นที่ดำเนินการ คือมีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ 93 แห่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่าและมีการขยายพื้นที่ไปทั่วประเทศทั้ง 5 ภาค โดยการสร้างเครือข่ายระดับภาค ที่เป็นความร่วมมือที่ต่อเนื่องระหว่าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมภาค สภาอุตสาหกรรมจังหัด ที่ปรึกษาระดับภาค และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเครือข่ายภูมิภาค (ภาคตะวันออก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ, และภาคใต้) การวิจัยปะเมินผลโครงการในระยะที่ 3 นี้จึงเป็นกรศึกษาติดตามผลการนำระบบนี้ไปใช้ในสถานประกอบการในแต่ละพื้นที่ และประโยชน์วงกว้างในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่คนทำงาน
ผลการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากแบบสอบถามทั้งหมด 345 คน เก็บข้อมูลจาก ที่ปรึกษาของสถานประกอบการ เจ้าของ/ผู้บริหารสถานประกอบการ ผู้ดำเนินการ และพนักงานในสถานประกอบการ ผลการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในสถานประกอบการ ได้เลือกสถานประกอบการที่ไม่ใช่โรงงาน 8 แห่ง และสถานประกอบการที่เป็นโรงงาน 2 แห่ง รวมเป็น 10 แห่ง
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานในสถานประกอบการยังคงเป็นโครงการใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย การจัดทำระบบและรูปแบบการประเมินยังอยู่ในขั้นตอนของการเรียนรู้และทดลองทำ ซึ่งเริ่มชัดเจนและเป็นรูปร่างขึ้นพอสมควร และมีกาขยายความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายระดับภาค จำเป็นต้องอาศัยเวลาและกำลังด้านวิชาการในการพัฒนากฎเกณฑ์มาตรฐานต่อไปอีกในระยะยาว การดำเนินโครงการระยะที่ 3 ได้สร้างที่ปรึกษาสถานประกอบการ กระจายอยู่ในทั่วทุกภูมิภาคจำนวน 40 คนที่สามารถพัฒนาสู้การเป็นที่ปรึกษาที่มีคุณภาพได้ จากทั้งส่วนราชการและเอกชน และสามารถพัฒนาขยายเครือข่ายที่ปรึกษาให้เป็นกลุ่ม/องค์กรที่เข้มแข็ง ที่ปรึกษาส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน และตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการคุณภาพชีวิตของคนทำงาน ส่วนใหญ่เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ เห็นว่ามีประโยชน์ สามารถขยายผลได้ โดยตนได้มีบทบาทในการให้คำปรึกษา แต่สภาพ ปัญหาและอุปสรรค คือ ความรู้ ความชัดเจนในการให้คำปรึกษาอาจมีน้อยจึงไม่เพียงพอต่อการให้คำปรึกษาต่อสถานประกอบการ รวมถึงระยะเวลาดำเนินการน้อยเกินไป สถานประกอบการที่ไม่มีประสบการณ์ระบบมาตรฐานมาก่อนอาจไม่สามารถทำได้ตามเวลากำหนด สถานประกอบกาที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ แต่ยังเห็นว่ามาตรฐานมีความเป็นนามธรรมสูง เจ้าของ/ผู้บริหารมีส่วนร่วมทั้งในด้านการติดตาม สนับสนุนโครงการและบางส่วนได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆด้วย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.6) มีความเห็นว่าที่ปรึกษามีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานและโครงการฯดี แต่ก็มีเพียง ร้อยละ 36.8 เท่านั้นที่เห็นว่าการให้คำปรึกษาของที่ปรึกษามีความชัดเจนดี การทำงานของทีมโครงการ ขากการประสานงาน และการสื่อสารภายในองค์กรยังไม่ดีพอ การสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดยผลักดันให้สถานประกอบการที่ได้รับการรับรองสามารถลดหย่อนภาษี (ร้อยละ 81.6) และสามารถลดเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม (ร้อยละ 92.1) ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นในหลกหลายวิธีการอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ จะช่วยขยายผลโครงการฯ นี้ได้
ผู้ดำเนินการในสถานประกอบการส่วนใหญ่เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงกรเป็นอย่างดี (ร้อยละ 93.0) แต่คิดว่ามาตรฐานระบบยังไม่ชัดเจน (ร้อยละ 65.1) สามารถดำเนินกิจกรรมตามข้อกำหนดของมาตรฐานระบบได้ (ร้อยละ 86.0) ปัญหาอุปสรรค คือยังไม่มีแนวทางหรือความชัดเจนในการปฏิบัติตามมาตรฐานของระบบ และระยะเวลาในการดำเนินการสั้น การดำเนินกิจกรรมได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารมากพอสมควร การให้คำแนะนำจากที่ปรึกษายังไม่ชัดเจนเท่าที่ควรข้อเสนอแนะการทำให้มาตรฐานมีความยั่งยืน ควรทำอย่างสม่ำเสมอและมีการทบทวนตามระยะเวลามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สถานประกอบการส่วนใหญ่มีกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 87.9 พนักงานส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรม/ต่อโครงการร้อยละ 93.3 และนำกิจกรรม/โรงการไปเผยแพร่ต่อผู้อื่น ร้อยละ 80.3 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรม/โครงการร้อยละ 89.3 กิจกรรม/โครงกรทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีขึ้นต่อผู้ร่วมงานร้อยละ 96.4 หลังจากเข้าร่วมโครงการรู้สึกว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น ร้อยละ 80.4 รู้สึกว่าสุขภาพจิตดีขึ้นร้อยละ 84.4 รู้สึกว่าสังคมดีขึ้นร้อยละ 85.7 ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ร้อยละ 87.5 สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ร้อยละ 88.4 ทำให้เกิดสุขภาพที่ดี ทั้งในมิติของกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานเอื้อในการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สิ่งสำคัญให้พนักงานสามารถนำแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตไปใช้ในชีวิตประจำวันและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในครอบครัว คือการได้ร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เมื่อปฏิบัติแล้วเห็นว่าเกิดประโยชน์และเป็นผลดีต่อตนและครอบครัว ประโยชน์จาการทำได้จริง การำดำเนินโรงการในระยะที่ 3 มีสถานประกอบการที่ไม่ใช่โรงงานเข้าร่วมโครงการหลายแห่ง ซึ่งสามารถดำเนินโครงการนี้ได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์ โดยปัจจัยสำคัญคือ สถานประกอบการส่วนหนึ่งมีต้นทุนเดิม คือ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต หรือเคยทำระบบมาตรฐานอื่นๆ เจ้าของสถานประกอบการ/ผู้บริหาร มีความตั้งใจ และมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง พนักงานมีส่วนร่วมการทำแผน/โครงการในการจัดกิจกรรม ตลอดจนมีเป้าหมายที่ชัดเจน ทั้งนี้สามารถใช้เป็นต้นแบบและนำไปขยายผลในสถานประกอบการประเภทเดียวกันในเครือข่ายได้
การดำเนินโครงการพบว่ามีสถานประกอบการที่การขอถอนตัว และขอไม่ยอมรับการประเมินในระยะเวลาตามที่กำหนด โดยมีเหตุผลด้านความไม่มั่นคงของธุรกิจ ย้ายสถานประกอบการ การเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบโครงการ ล้าจากการกระทำระบบมาตรฐานอื่น ที่ปรึกษาไม่ชัดเจน ไม่เข้าไป/ไม่สามารถตอบคำถามได้ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการประเมิน และไม่เห็นประโยชน์ชัดเจนของการประเมิน และเริ่มงานช้าเวลาไม่พอจึงมีความก้าวหน้าน้อยเกรงจะไม่ผ่านการประเมิน
ประโยชน์ที่สถานประกอบการได้รับจากการเข้าร่วมโครงการคือ การมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าของ/ผู้บริหารสถานประกอบการและพนักงาน เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร เกิดการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ มีกิจกรรมร่วมกัน เกิดความเป็นชุมชนในสถานประกอบการมากขึ้น นอกจากพนักงานมีคุณภาพชีวิตดีแล้วยังมีความรับผิดชอบมากขึ้น และมีส่วนร่วมดูแลสถานประกอบการ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและรักษาผลประโยชน์ของบริษัท เกิดการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในสถานประกอบการ ในเรื่องต่างๆ มีการทำงานเป็นทีม มีจิตสำนึกต่อองค์กร ซึ่งส่งผลต่อผลิตผลของสถานประกอบการทั้งในด้านปริมาณและคุภาพด้วย
ข้อเสนอแนะการคัดเลือกสถานประกอบการ ควรเน้นด้านความพร้อมจองผู้บริการและบุคลากร ประสบการณ์การทำงานมาตรฐาน โดยต้องชี้แจงโครงการฯ ให้ครบถ้วนตามกำหนด และมีการปรับระยะเวลาได้ตามความเหมาะสม ในส่วนของมาตรฐานและข้อกำหนด ควรมีคู่มือปฏิบัติงานคู่มือตรวจสอบประเมิน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในขั้นตอนปฏิบัติของทุกฝ่าย การสร้างเครือข่ายและคณะทำงานในระดับภูมิภาคจะต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ไปในทิศทางเดียวกัน การเตรียมทีมที่ปรึกษา การประชุมและอบรมควรมีรูปแบบที่ชัดเจน มีการสอบมาตรฐานที่ปรึกษา และผู้ตรวจประเมินภายในและภายนอก ให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับ การแบ่งหน้าที่การดูแลรับผิดชอบแต่ละส่วนอย่างชัดเจนและสอดคล้องกับการบริหารจัดการของเครือข่ายระดับภูมิภาค โดยเน้นประสิทธิภาพการสื่อสาร ให้รับรู้การดำเนินการอย่างใกล้เคียงกัน ควรพัฒนาการนำระบบบริหารคุณภาพชีวิตการทำงาน MS-QWL ไปเป็นมาตรฐานของการทำงานในเชิงกฎหมาย และโครงสร้างการขยายผลการดำเนินงานในระยะต่อไป ให้เป็นนโยบายของรัฐบาลหรือกระทรวงหรือกรมกองที่ดูแลรับผิดชอบและนำเอาระบบบริหารคุณภาพชีวิตการทงาน ไปพัฒนาหรือผลักดันในเชิงนโยบายต่อไป ควรผลักดันให้เกิดโครงการสร้างเชิงระบบสถาบันที่รับผิดชอบระบบมาตรฐานนี้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อเนื่องในการพัฒนาระบบ รวมทั้งสร้างการยอมรับในสังคม และขับเคลื่อนในเชิงนโยบายระดับชาติและระดับสากลต่อไป |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ไดรับการสนับสนุนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พ.ศ. 2550 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ประสิทธิภาพการทำงาน |
th_TH |
dc.subject |
สาขาการศึกษา |
th_TH |
dc.title |
การวิจัยประเมินผลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานคุณภาพชีวิตการทำงานในสถานประกอบการ |
th_TH |
dc.title.alternative |
Evaluation research for improving the management system of quality of work life : MSQWL |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2550 |
|