DSpace Repository

สภาพจิตสังคมจากการตรวจคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียของประชากรวัยเจริญพันธุ์ ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ th
dc.contributor.author แอนนา สุมะโน th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:12Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:12Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1028
dc.description.abstract การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพจิตสังคมของประชากรวัยเจริญพันธุ์ผู้รับการตรวจคัดกรองดรคเลือดจางะาลัสซีเมีย การวิเคราะห์องค์ประกอบและความแตกต่างตามปัจจัยที่คัดสรร กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรวัยเจริญพันธุ์ในตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 174 คน ที่ผ่านการตรวจคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียจากโรงพยาบาลชุมชน ได้รับผลการตรวจคัดกรองและการให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวโดยแพทย์เฉพาะทางกุมารเวช ซึ่งสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากรายชื่อผู้มารับฟังผลการตรวจคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียในวันที่ทางโรงพยาบาลกำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองในห้องที่จัดให้อย่างอิสระ แบบสอบถาม ประกอบด้วยเนื้อหา 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล และความรู้สึกหลังทราบผลการตรวจคัดกรอง เครื่องมือที่สร้างขึ้นจากการสัมภาษณ์เบื้องต้นผู้เคยตรวจคัดกรอง 10 คน ได้นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรง ทดสอบค่าความเชื่อมั่นจากวิเคราะห์องค์ประกอบมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า อยู่ระหว่าง .845-.964 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) และการทดสอบค่าแมนวิทนี ยู (Mann-Whitney U test) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีผลการตรวจคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียเป็นพาหะของโรค ร้อยละ 35.1 และเป็นโรคร้อยละ 1.7 สภาพจิตสังคมในกลุ่มที่เป็นพาหะและเป็นโรคมีความรู้สึกตกใจ สงสัย วิตกกังวล โล่งงอก ในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นต่อตนเองหรือสุขภาพของตนเองว่าแข็งแรงระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มปกติมีความรู้สึกโล่งอกในระดับปานกลาง มีความรู้สึกตกใจ สงสัย กลัวและวิตกกังวล ในระดับเล็กน้อย ความคิดเห็นต่อตนเองหรือสุขภาพของตนเองว่าแข้งแรงระดับมาก วิเคราะหืองค์ประกอบพบว่า ประเด็นจิตสังคมมีน้ำหนักในองค์ประกอบ (Factor loading) ที่เด่นชัดอยู่ 3 องค์ประกอบ สามารถอธิบายสภาพจิตสังคมของผู้รับการคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียได้ร้อยละ 68.08 ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ 1 "ความรู้สึกไม่ดีต่าง ๆ" จำนวน 13 ประเด็น องค์ประกอบที่ 2 "สุขภาพตนเองไม่ดี" จำนวน 7 ประเด็น และองค์ประกอบที่ 3 "ท้อแท้เศร้าสร้อย" จำนวน 3 ประเด็น ผลการเปรียบเทียบพบว่ากลุ่มที่เป็นพาหะและเป็นโรค มีความรู้สึกหรือความคิดเห็นในทุกองค์ประกอบแตกต่างกับกลุ่มปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 ผู้ที่ตรวจคัดกรองเป็นพาหนะและเป็นโรคเพศชายและหญิง และผู้มีสถานภาพสมรสโสดและคู่ มีสภาพจิตสังคมแต่ละองค์ประกอบไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ: กลุ่มที่เป็นพาหะและกลุ่มที่ป่วยแม้จะมีความรู้สึกทางสภาพจิตสังคมบ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตามการตรวจคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียในประชากรวัยเจริญพันธุ์ยังถือว่ามีความสำคัญ โดยต้องมีการให้ความรู้และคำปรึกษาไม่เฉพาะแต่ก่อนดำเนินการ และเมื่อทราบผลการตรวจคัดกรอง แต่รวมทั้งหลังทราบผลการตรวจคัดกรองด้วย th_TH
dc.description.sponsorship ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชนของบริษัทไทยออยล์ จำกัด ตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การตรวจคัดกรอง th_TH
dc.subject ธาลัสซีเมีย th_TH
dc.subject โรคโลหิตจาง th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title สภาพจิตสังคมจากการตรวจคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียของประชากรวัยเจริญพันธุ์ ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Psychosocial Aspect from Thalassemia Screening Test of Reproductive People in Tambon Tungsukhla, Si Racha District. Chon Buri Province. en
dc.type Research
dc.year 2556
dc.description.abstractalternative This survey research purposed to study the psychosocial aspect of reproductive people after having taken a thalassemia screening test, the psychosocial factors were analyzed and compared by selected factors. One hundred and forty seven reproductive people by simple random sampling were used as samples, who took the thalassemia screening test at a community hospital, they were counseled by the specialist pediatric doctor when they came to collect the results. Self-directory questionnaires were used for data collection. The questionnaires consisted of 2 parts about personal data and psychosocial aspect data which were developed by researchers from 10 samples from previous interviews. Three experts reviewed the reliability after the factors analyzed were within the range of .845-.964. Data was analyzed by using descriptive statistics, factor analysis, and MannWhitney U test. The results were as follows: The screening test found 35.1 % of trait and 1.7% of disease. The trait and disease groups felt moderately frightened, with doubts, anxiety, and felt relieved. The self-image was moderately healthy. On the other hand, the normal group felt relieved at moderate levels and also had slight feelings of doubt, fear and anxiety. Self-image was strongly healthy. The factor analysis found that there are 3 factors of psychosocial aspects that can explain psychosocial aspect 68.08%. The 3 factors consist of 1) all bad feeling" there are 13 items, 2) "bad health" there are 7 items, and 3) "look bule" there are 3 items. Comparisons of 3 factors of psychosocial aspect between the trait (and disease) group and the normal group were statistically significantly different at .05 level. In the trait (and disease) group, there was no statistic significantly difference between males and females, and also between single and spouse. Research suggestion: The trait (and disease) group have slightly psycho-social aspect more than normal group. However, thalassemia screening test is still important in reproductive people. That must be had knowledge and counseling not only before screening test, before receiving the screening result and also after those. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account