dc.contributor.author | พิมพ์กมล กองโภค | |
dc.date.accessioned | 2024-01-09T02:34:05Z | |
dc.date.available | 2024-01-09T02:34:05Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10288 | |
dc.description | สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคiเพื่อศึกษาสถานะทางกฎหมายของเรือไร้คนขับและข้อจำกัดทางกฎหมายใน การปรับใช้กับหน้าที่ของผู้ขนส่งในการทำให้เรืออยู่ในสภาพปลอดภัยภายใต้สัญญารับขนสินค้าทางทะเล เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายในประเด็นดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า ในปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีเรือไร้คนขับนั้นอยู่ในช่วงของการทดลองก่อนจะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ในอนาคตอันใกล้นี้ ในแง่สถานะทางกฎหมายของเรือไร้คนขับนั้น หากพิจารณาจากคำจำกัดความของคำว่า “เรือ” ที่ปรากฏอยู่ในอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับต่าง ๆ และกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศไทย ไม่พบว่ามีกฎหมายฉบับใดกล่าวถึงลักษณะของเรือไร้คนขับไว้เป็นการเฉพาะ หรือกล่าวถึงปัจจัยในแง่การมีคนประจำเรืออยู่บนเรือเพื่อใช้ประกอบในการพิจารณานิยามของคำว่า “เรือ” แต่อย่างไรก็ตามแม้ลักษณะของเรือไร้คนขับจะมิได้ขัดหรือแบ่งกับคำจำกัดความของ “เรือ” ภายใต้กฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ก็อาจมีความไม่ชัดเจนในทางกฎหมายภายใต้การตีความของศาลในแต่ละประเทศ ผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่า ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมคำจำกัดความของคำว่า “เรือ” ในกฎหมายทั้งในระดับอนุสัญญาระหว่างประเทศและกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือและกิจการพาณิชยนาวีให้ครอบคลุมถึงเรือไร้คนขับประเภทต่าง ๆ ด้วย ส่วนในประเด็นหน้าที่ของผู้ขนส่งในการทำให้เรืออยู่ในสภาพปลอดภัยภายใต้สัญญารับขนสินค้าทางทะเล พบว่าเนื่องด้วยลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างเรือที่ใช้ในปัจจุบันกับเรือไร้คนขับ อาจส่งผลกระทบต่อหน้าที่ของผู้ขนส่งโดยเฉพาะหน้าที่ในการจัดหาคนประจำเรือให้เหมาะสมทั้งในเชิงจำนวนและความสามารถตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขกฎหมายที่ใช้อยู่อาจนำไปสู่ความรับผิดของผู้ขนส่งจากการใช้เรือไร้คนขับ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสภาพที่ปลอดภัยของเรือและหน้าที่ของผู้ขนส่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้เรือขนส่งสินค้าประเภทไร้คนขับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่จำเป็นต้องกำหนดให้มีคนประจำเรืออยู่บนเรือทุกกรณี โดยให้ศาลพิจารณาหน้าที่ดังกล่าวให้สอดคล้องกับประเภทของเรือที่ใช้ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเรือ หลักสูตรฝึกอบรมและการให้ประกาศนียบัตรโดยเพิ่มเติมคุณสมบัติที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการปฏิบัติงานที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เพื่อสร้างความชัดเจนแน่นอนในทางกฎหมาย ลดปัญหาข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางทะเล | th_TH |
dc.description.sponsorship | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | กฎหมายทะเล | th_TH |
dc.subject | การขนส่งทางน้ำ --กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | th_TH |
dc.subject | การรับขนของทางทะเล | th_TH |
dc.title | การใช้เรือไร้คนขับ : อนาคตของการขนส่งทางทะเลกับความท้าทายทางกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขนส่งในการทำให้เรืออยู่ในสภาพปลอดภัยภายใต้สัญญารับขนสินค้าทางทะเล | th_TH |
dc.title.alternative | The use of unmanned ships : the future of maritime transport and the legal challenges relating to the carriers' obligations of seaworthiness under the carrigge of goods by sea contract | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2565 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research is to examine the legal status of unmanned ships and the legal limitations when applying to the carriers' obligations of seaworthiness under the carriage of goods by sea contract in order to propose the guidelines to amend the laws on such issues. The research results showed that, currently, the development of unmanned ship technology is in the experimental phase before being commercially used in the near future. In terms of the legal status of unmanned ships, considering the definitions of the term “ship” appeared in international conventions and domestic laws of each country, including Thailand, no specific law has been found to describe the nature of unmanned ships, or mention factors regarding having a crew on board as the element to identify the definition of "ship". However, even though the nature of unmanned ships does not contradict the definition of "ship" under current laws, there may be a lack of legal certainty under the divergent interpretation of the courts in each country. The researcher, therefore, suggested that the definition of "ship" in both international conventions and domestic laws related to navigation and maritime affairs should be amended to include various types of unmanned ships. With regards to the carriers’ obligations of seaworthiness under the carriage of goods by sea contract, it was found that, due to the vastly different operating characteristics between conventional ships and unmanned ships, this may affect the carriers’ obligations, especially the obligation to provide “properly manned” ship in terms of both number and competence as required by law. Provided that the existing laws are not properly amended, it could lead to carriers’ liability for using unmanned ships. Accordingly, the researcher suggested that the provisions governing seaworthiness and the carriers’ obligation in cases when unmanned cargo ships are used should be amended. Particularly, it should not strictly require a crew on board in every circumstance, and, simultaneously, the court should consider such obligation based on the type of ship used. Moreover, the regulations on ship inspections, training courses, and certifications should be amended with the addition of the necessary qualifications in line with the changing operation patterns to establish legal certainty, reduce the future disputes, as well as representing the adaptability to technological changes in the shipping industry. | th_TH |