DSpace Repository

โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถของนักกีฬาว่ายน้ำ มาราธอนเยาวชนทีมชาติไทย

Show simple item record

dc.contributor.author พรพจน์ ไชยนอก
dc.date.accessioned 2023-11-13T08:19:14Z
dc.date.available 2023-11-13T08:19:14Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10282
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของร่างกาย สมรรถภาพทางกาย ความสามารถในการออกแรง ตัวแปรทางด้านระบบพลังงาน และความสามารถในการแข่งขันระยะทาง 5 กิโลเมตรในนักกีฬาว่ายน้ำมาราธอนเยาวชนก่อนและหลังการฝึก 12 สัปดาห์ในวงรอบการ ฝึกวงรอบที่ 3 ของปีและ (2) เพื่อใช้เทคนิคของโมเดลสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อตรวจสอบตัวแปรทำนายที่สามารถนำมาสร้างสมการพยากรณ์ความสามารถในการแข่งขันระยะทาง 5 กิโลเมตรของนักกีฬาว่ายน้ำมาราธอนเยาวชนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักกีฬาว่ายน้ำมาราธอน เยาวชนทีมชาติไทย จำนวน 22 คน (ชาย 11, หญิง 11) อายุเฉลี่ย 15.36 +1.05 ปี เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและร้อยละการเปลี่ยนแปลงของตัวแปร ระหว่างก่อนและหลังการฝึกโดยใช้สถิติค่าที วิเคราะห์โมเดลสมการ โครงสร้างโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้ โปรแกรม LISREL student 9.30 ทดสอบความมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าความสามารถในการแข่งขันระยะทาง 5 กิโลเมตรมีการพัฒนาขึ้นเมื่อเปรียบเทียบก่อนและ หลังการฝึก 12 สัปดาห์ในวงรอบการฝึกวงรอบที่ 3 ของปีอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 9.01 เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามากที่สุด 3 อันดับแรกพบว่า ร้อย ละของไขมันมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ร้อยละ 6.69 (d=0.27, Small) รองลงมาได้แก่ แรงเฉลี่ยในการว่าย โดยใช้ขา ร้อยละ 5.97 (d=0.20, small) และปริมาณแลคเตทสูงสุดจากการทดสอบ 6x50 เมตร ร้อยละ 5.18 (d=0.46, small) ตามลำดับ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวแปรแต่ละด้านที่ส่งผลต่อ ความสามารถในการแข่งขันระยะทาง 5 กิโลเมตรของนักกีฬาว่ายน้ำมาราธอนเยาวชนพบว่าองค์ประกอบที่ สามารถอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการแข่งขันได้มากที่สุดคือ ตัวแปรทางด้านระบบพลังงาน แบบแอโรบิค ร้อยละ 55.0 รองลงมาได้แก่ ตัวแปรของสมรรถภาพทางกาย ร้อยละ 40.4 ตัวแปรองค์ประกอบของร่างกาย ร้อยละ 24.9 ตัวแปรทางด้านระบบพลังงานแบบแอนแอโรบิค ร้อยละ 21.1 และตัวแปรทางด้าน ความสามารถในการออกแรง คิดเป็นร้อยละ 8.7 ตามลำดับ ผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสามารถของนักกีฬาว่ายน้ำมาราธอนเยาวชนในวงรอบการฝึก และความสำคัญของตัวแปรด้านระบบพลังงานแบบแอโรบิคและองค์ประกอบด้านสมรรถภาพ ทางกายที่มีความสำคัญโดยตรงต่อความสามารถ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับผู้ฝึกสอนในการวางแผนการ ฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาความสามารถของนักกีฬาว่ายน้ำมาราธอนเยาวชนในระยะยาวต่อไป th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การว่ายน้ำ th_TH
dc.subject การว่ายน้ำ - - การฝึก th_TH
dc.title โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถของนักกีฬาว่ายน้ำ มาราธอนเยาวชนทีมชาติไทย th_TH
dc.title.alternative Structural equation modeling of its determinant factors of Thai open water swimming performance th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2565 th_TH
dc.description.abstractalternative The objectives of this study were to (1) study and compare anthropometric and physical performance, tethered force, bioenergetics over the 12 weeks of the third training marcocycle and (2) study the influences of anthropometric and physical performance, tethered force, bioenergetics on 5 kilometers swimming performance in training macrocycle (12-weeks). Twenty two of Thai young openwater swimmers (11 males and 11females; 15.36+1.05yrs), participated in this study. Mean and percentage changed of an anthropometric and physical performance, tethered force and bioenergetics were tested and compared between pre and post-test over a training cycle. Pair t-test was also conducted to evaluate any differences. Multiple linear regressions were used to identify the most influential variables and the relative contribution of each factor on 5 kilometers swimming performance using LISREL student 9.30. Statistical significant wat set at 0.05. The results revealed that 5 kilometers swimming performance was improved significantly about 9.01% (p<0.01) after the 12 weeks of the third training marcocycl. The three most improved fators were % body fat 6.69 (d=0.27, Small) following by legs tethered force 5.97 (d=0.20, small) and the highest blood lactate from 6x50 test 5.18 (d=0.46, small), respectively. Multiple regression analysis was conducted to examine the effects of each factor on 5 kilometers swimming performance. The current study's findings highlight the characteristics of adaptation and changes in key success factors, as well as the importance of aerobic performance and physical fitness in young openwater swimming performance. The findings are critical for coaches to consider when planning training sessions to assist young openwater swimmers in developing their abilities over the long term athete development period. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account