DSpace Repository

ฤทธิ์กระตุ้นการหายของบาดแผลในเซลล์เพาะเลี้ยงและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของสารสกัดแกแล

Show simple item record

dc.contributor.author บุญดิศย์ วงศ์ศักดิ์
dc.contributor.author อาภา เพชรสัมฤทธิ์
dc.date.accessioned 2023-10-11T07:43:13Z
dc.date.available 2023-10-11T07:43:13Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10267
dc.description โครงการวิจัยประเภททุนอุดหนุนงานวิจัย งบประมาณเงินรายได้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ th_TH
dc.description.abstract ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง พืชสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ประโยชน์จึงมีหลากหลายชนิด แกแล หรือ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner วงศ์ Moraceae พบตามป่าโปร่งทางภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย เป็นสมุนไพรที่มีใช้อย่างแพร่หลายในภูมิปัญญาพื้นบ้าน เช่น ใช้แก่น แก้ไข้รากสาด ท้องร่วง บารุงเลือด รักษาบาดแผลและเป็นยาขับปัสสาวะ สารสำคัญที่พบในแก่นแกแล ได้แก่ สารกลุ่ม flavonoids, steroid และ triterpene ฤทธิ์ทางชีวภาพของแกแลที่มีการรายงาน ได้แก่ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ฤทธิ์ลดไข้ และฤทธิ์ต้านการอักเสบ ในการทดลองครั้งนี้จึงทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการหายของบาดแผลในเซลล์เพาะเลี้ยง พร้อมทั้งพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดแกแลความเข้มข้น 0.1 mg/ml เซลล์ไม่สามารถเคลื่อนที่ติดกันได้ จึงแสดงว่าสารสกัดแกไม่มีฤทธิ์สมานแผล แต่พบว่าสารสกัดแกแลสามารถกระตุ้นการเจริญของเซลล์ได้สูงสุดที่ความเข้มข้น 0.1 mg/ml โดยมีเปอร์เซ็นต์การเจริญของเซลล์เท่ากับ 49.02±5.51% ในขณะที่วิตามินซีความเข้มข้น 0.1 mg/ml มีเปอร์เซ็นต์การเจริญของเซลล์สูงสุดเท่ากับ 13.00±3.60% และเมื่อศึกษาสารสำคัญในสกัดด้วยวิธีรงคเลขผิวบางพบสารหลักอยู่สองชนิดคือ oxyresveratrol และ morin หลังจากนั้นนำสารสกัดไปพัฒนาเป็นตำรับเจลพบว่า เจลผสมสารสกัดจากแกแลมีลักษณะเป็นเจลใสสีเหลืองไม่ขุ่น แต่หลังการทดสอบความคงตัวสีจางลงเล็กน้อย และสารสกัดแกแลยังละลายน้ำได้ไม่ดีนัก ดังนั้นควรต้องเพิ่มการละลายของสารสกัดก่อนแล้วจึงพัฒนาสูตรตำรับเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้กว้างมากขึ้น รวมทั้งจะช่วยให้ใส่ในตำรับได้ปริมาณมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ตารับมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject แกแล (พืช) th_TH
dc.subject พืชสมุนไพร th_TH
dc.title ฤทธิ์กระตุ้นการหายของบาดแผลในเซลล์เพาะเลี้ยงและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของสารสกัดแกแล th_TH
dc.title.alternative In vitro wound healing activity and product development of Maclura cochinchinensis extract th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email boonyadist@go.buu.ac.th th_TH
dc.author.email arpa@go.buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative Thailand is one of the countries with high biodiversity. Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (Moraceae) found in sparse forests in the central, Eastern and Southern of Thailand. It is a herb that has been widely used in folk wisdom such as the treatment of typhoid fever, anti-diarrhea, wound healing and as a diuretic. The main substances found in the heartwood are flavonoids, steroid and triterpene. The biological activities of Maclura cochinchinensis were reported to treat peptic ulcer, antipyretic and anti-inflammatory effects. In this experiment, wound healing activity was tested in cell cultures along with developing into a product. The results showed that M. cochinchinensis extract at a concentration of 0.1 mg / ml unable to heal the wound in cell media. Therefore, the extract has no wound healing effect. Nevertheless, it was found that M. cochinchinensis extract was able to stimulate cell growth at a concentration of 0.1 mg / ml with cell growth percentage of 49.02 ± 5.51 while vitamin C at a concentration of 0.1 mg / ml was 13.00 ± 3.60%. The main substances in the extract were found to be oxyresveratrol and morin analyzing by TLC method. After that, the extract was developed into a gel formulation. Gel with extract from M. cochinchinensis express a clear, yellow, not cloudy gel. However, after the stability test, the color slightly faded. Additionally, the water-solubility of the extract should be increased for helping to add more quantities in the formulation. This may result in an interesting pharmacological effect of the formulation in the further use. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account