DSpace Repository

การเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นด้วยการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.advisor ประชา อินัง
dc.contributor.author สุวัชราพร สวยอารมณ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:57:04Z
dc.date.available 2023-09-18T07:57:04Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10254
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2565
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น และ 2) พัฒนาโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น 3) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎี พฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นในประเทศไทย จาก 6 ภูมิภาค จํานวน 1,350 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น จํานวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎี และเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น จํานวน 16 ครอบครัว ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ทําการสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 ครอบครัว โดยมีเกณฑ์การคัดเข้ากลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ เป็นพ่อแม่ที่มีความสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง และมีคะแนนพฤติกรรมพ่อแม่ตั้งแต่ ระดับน้อยลงมา ( X < 4.07) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.896 และโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎี และเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน สองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นมากที่สุด ( X = 4.24) และภาคตะวันตกมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นน้อยที่สุด ( X = 4.07) 2. โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎี พฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีและเทคนิคต่าง ๆ ของทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวพฤติกรรมนิยม 3. ผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีคะแนนพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับ โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีคะแนนพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject การดูแลเด็ก -- การมีส่วนร่วมของบิดามารดา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subject การดูแลเด็ก
dc.title การเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นด้วยการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการ
dc.title.alternative The enhncement prening behviors of prents with teenge children through integrtive fmily counseling
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were; 1) to study parenting behaviors of parents with teenage children, 2) to develop the integrative family counseling program based on Behavioral Theory for enhancing parenting behaviors of parents with teenage children, and 3) to study the effects of the developed program of integrative family counseling based on Behavioral Theory for enhancing parenting behaviors of parents with teenage children. The research process was divided into 3 steps. The first step: studying the parenting behaviors of 1,350 parents who have teenage children in Thailand. Step 2: developing the integrative family counseling program based on Behavioral Theory for enhancing parenting behaviors of parents with teenage children including 10 sessions, 60 minutes each. Step 3: studying the effects of the developed integrated family counseling program based on Behavioral Theory for enhancing the parenting behaviors of 16 families who were randomly assigned into experimental group and control group. All 16 families had average point of parenting behaviors at low score ( X < 4.07) and volunteered to participated in the study. The instruments used for collecting the data were the parenting behaviors of parents with adolescent children questionnaire with the reliability at 0.896, and the integrated family counseling program based on Behavioral Theory for enhancing the parenting behaviors. The data were analyzed using mean, standard deviation and two-ay repeated measure analysis of variance. The findings were; 1. The average score of the parenting behaviors of parents with teenage children in the North East was at the highest level ( X = 4.24). The average score of the parenting behaviors with the teenage children in the Western region was the lowest ( X = 4.07). 2. The integrated family counseling program based on Behavioral Theory for enhancing the parenting behaviors for enhancing parenting behaviors of parents with teenage children was administered for 10 sessions; 60-90 minutes. 3. The results of the measurement of the effect of the integrated family counseling program based on Behavioral Theory for enhancing the parenting behaviors with teenage children were: 1) At the post-test and follow-up, the experimental group possessed significantly higher score on parenting behaviors than the control group at.05 level of significance. 2) The experimental group possesed significantly higher score on parenting behaviors at the post-test and follow-up than pretest at.05 level of significance.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account