dc.contributor.advisor | ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์ | |
dc.contributor.author | ภัทรา เวชสวรรค์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:56:55Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:56:55Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10233 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มุ่งหวังและรูปแบบการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่ม Generation C กลุ่มประเทศยุโรปกับกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือประเภท Non-group tour 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการใช้สื่อ Social ในการค้นหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และวางแผนการท่องเที่ยว 3) เพื่อนําเสนอโปรแกรมในการท่องเที่ยวตามความต้องการของนักท่องเที่ยวที่สามารถสร้างคุณค่าทางการท่องเที่ยว 4) เพื่อนําเสนอแนวทางการพัฒนาสื่อโซเชียลในการสร้างคุณค่าทางการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจังหวัดชลบุรี ดําเนินการโดยวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และนักท่องเที่ยวชาวยุโรปและชาวอเมริกาเหนือ จํานวน 24 คน และใช้การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บแบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปและชาวอเมริกาเหนือที่มาท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจังหวัดชลบุรี จํานวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่ม Generation C กลุ่มประเทศยุโรปและกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือที่มาท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย การส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวและการยกระดับการคมนาคมภายในพื้นที่การใช้สื่อของหน่วยงานรัฐบาล ภาคเอกชน และนักท่องเที่ยวชาวยุโรปและชาวอเมริกาเหนือที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวคือ เว็บไซต์ เฟสบุ๊ก อินสตราแกรม ทวิตเตอร์ ยูทูป วอทส์แอฟ ทริปแอดไวเซอร์ แลวล็อค โปรแกรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวสําหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวยุโรปและชาวอเมริกาเหนือ กลุ่มเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง มาจากความต้องการของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก นักท่องเที่ยวชาวยุโรป มีรูปแบบการท่องเที่ยวที่มุ่งการพักผ่อนหย่อนใจ นักท่องเที่ยวชาวอเมริกาเหนือ มีรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ กิจกรรมการท่องเที่ยวที่มุ่งหวัง ของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป คือ กิจกรรมถ่ายภาพ และนวดแผนโบราณ และของนักท่องเที่ยวชาวอเมริกาเหนือ คือ นวดแผนโบราณ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับอายุแตกต่างกันรูปแบบการท่องเที่ยวแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 จึงนํามาจัดรูปแบบการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวในแต่ละช่วงอายุ กลุ่มที่ 1 อายุ 25-34 ปี อายุ 35-44 ปี และอายุมากกว่า 44 ปี โปรแกรมส่องความงดงามแดนตะวันออก รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและบันเทิง กลุ่มที่ 2 อายุ 118-24 ปี อายุ 25-34 ปี อายุ 35-44 ปี และอายุมากกว่า 44 ปี โปรแกรมสัมผัสท้องถิ่นไทย แดนตะวันออก เช่น การท่องเที่ยว โดยชุมชน การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม กลุ่มที่ 3 อายุมากกว่า 44 ปี โปรแกรมท่องไปกับอารยธรรมแดนตะวันออกในรูปแบบ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สําหรับการใช้สื่อออนไลน์และสื่อออฟไลน์ต้องนํามาผสมผสานกันโดยเพิ่มเติมเรื่องราวและหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและใช้สื่อบุคคล เช่น บุคคลที่มีชื่อเสียงมาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว การเพิ่มข้อมูลภาษาอังกฤษมากขึ้นและเพิ่มเนื้อหาให้มีความทันสมัย การจัดงานเพื่อประชาสัมพันธ์โปรแกรมการท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรี | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การท่องเที่ยว -- ไทย (ภาคตะวันออก) | |
dc.subject | นักท่องเที่ยวต่างชาติ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ | |
dc.title | การสร้างคุณค่าทางการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจังหวัดชลบุรี สำหรับนักท่องเที่ยวเจเนเรชั่น ซี (Generation C) กลุ่มประเทศยุโรปและกลุ่มและกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ | |
dc.title.alternative | Creting tourism vlues in line with government policies in chonburi province of the estern economic corridor zone for genertion c tourists in europe nd north meric | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of the research were 1) to study the tourists’ behavior, expected tourism activities, and tourism pattern for Generation C tourists (Non-Group tour) from European countries and North American countries, Non-Group tour,2) to study the behavior of using social media for information search to make decisions and to plan the travel of Generation C tourists (Non-Group tour) from European countries and North American countries, 3) to offer tourism programs, which meet the tourists’ needs and to create tourism value of Chonburi Province in the Eastern Economic Corridor Zone for Generation C tourists in (Non-Group tour) from European countries and North American countries, and 4) to propose ways to develop social media in creating tourism value of Chonburi Province in Eastern Economic Corridor Zone. The study was carried out by a mixed method research which consisted of both qualitative and quantitative research. In the qualitative research, the main target group comprised executives from government and private agencies involved and 24 European and North American tourists. In quantitative research, questionnaires were used to collect data on the opinions of 400 European and North American tourists travelling to Chonburi Province in the Eastern Economic Corridor Zone. The results showed that the tourism promotion policy for Generation C tourists from European countries and North American countries visiting the Eastern Economic Corridor Zone consisted of promotion of tourism routes, upgrading of intra-area transportation. For the use of media of both government agencies and private sectors, the media for public relations that European and North American tourists used were the websites, Facebook, Instagram, Twitter, YouTube, whatsapp, TripAdvisor and Wlock. The travel programs and activities for European and North American self-guided tourists were mainly from their own needs. The tourism pattern that European tourists focused on was recreational tourism. Tourists from North America concentrated on natural tourism patterns. The European tourists’ expected tourism activities included photography and traditional massage activities, and North American tourists expected traditional massage activities. The hypothesis testing revealed that tourists of different ages had a difference in the pattern of tourism with a statistical significance of 0.05. Therefore, the tourism patterns were designed to align with the needs of tourists in each age group. Group 1, consisting of tourists aged 25-34 years, 35-44 years, and 44 years and older, was suitable for tourism patterns of sightseeing in the beautiful Eastern region, marine ecotourism, nature tourism, natural conservation tourism, ecotourism, and sports and entertainment tourism. Group 2, consisting of tourists aged 18-24 years, 25–34 years, 35–44 years, and 44 years and older, was suitable for experiencing the Thai locality in the East, such as community tourism and agricultural tourism. Group 3, consisting of tourists aged 44 years, and older, was suitable for travel programs to the Eastern civilization in the form of historical tourism and cultural tourism. For the use of online media and offline media, both kinds of media had to be combined by adding interesting content and topics about the tourist attractions of Eastern Economic Corridor Zone in Thailand, and personal media such as celebrities should be used to promote tourism. English information should be added and the contents should be updated. Events should be held to promote tourism programs in Chonburi Province. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การจัดการสาธารณะ | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |