dc.contributor.advisor |
ยุทธนา จันทะขิน |
|
dc.contributor.advisor |
พีร วงศ์อุปราช |
|
dc.contributor.author |
ไพจิตร พุทธรอด |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-18T07:56:52Z |
|
dc.date.available |
2023-09-18T07:56:52Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10223 |
|
dc.description |
ดุษฎีปรัชญา (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564 |
|
dc.description.abstract |
การประเมินภาวะพร่องทางปัญญาที่ผ่านมามีข้อจำกัดทั้งในประเด็นเรื่องความไม่สอดคล้องกับทฤษฎีหลักในทุกมิติ และขาดความสามารถในการประเมินกระบวนการทางปัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะพร่องทางปัญญาอย่างเฉพาะเจาะจง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อออกแบบกิจกรรมทดสอบคอมพิวเตอร์สำหรับประเมินภาวะพร่องทางปัญญาแบบพหุกิจกรรมกับการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองสำหรับผู้สูงอายุไทยและเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้าสมองขณะทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประเมินภาวะพร่องทางปัญญาแบบพหุกิจกรรมของผู้สูงอายุไทย ในผู้สูงอายุ 3 กลุ่ม โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุ 60 - 80 ปีที่อาศัยอยู่ในตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรุนแรงภาวะสมองเสื่อม แบบทดสอบสภาพสมอง เบื้องต้นฉบับภาษาไทย และเครื่องบันทึกเครื่องไฟฟ้าสมอง Neuroscan วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และคำนวณขนาดอิทธิพลของความแตกต่าง ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินภาวะพร่องทางปัญญาแบบพหุกิจกรรม ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 พหุกิจกรรมความสอดคล้องของภาพและเสียง กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเรียกคืนความจำภาพ และกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเรียกคืนความจำเสียง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญและมีความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน 2) ผลรวมสัดส่วนค่าคะแนนความถูกต้อง กิจกรรมที่ 1 พหุกิจกรรมความสอดคล้องของภาพและเสียง และกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเรียกคืนความจำเสียง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลรวมค่าเฉลี่ยเวลาการตอบสนองทั้ง 3 กิจกรรมไม่แตกต่างกัน 3) ค่าเฉลี่ยพลังงานสัมพัทธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองขณะทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินภาวะพร่องทางปัญญาแบบพหุกิจกรรม ช่วงความถี่เบต้า ณ ตำแหน่งบริเวณสมองที่บริเวณสมองส่วนขมับซ้าย และช่วงความถี่แกมม่า ณ ตำแหน่งบริเวณสมองส่วนขมับ และส่วนขมับซ้ายมีความแตกต่างกัน 4) ค่าเฉลี่ยความสูงและความกว้างของศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ N200 และ P300 ปรากฏว่า บริเวณสมองส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนพาไรเอทัล และสมองส่วนขมับ ณ ตำแหน่ง FZ F5 CP5 P5 P6 T7 และ T8 ของกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพร่องแตกต่างกัน |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ความบกพร่องทางสติปัญญา |
|
dc.subject |
คลื่นไฟฟ้า |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.subject |
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก |
|
dc.subject |
ผู้สูงอายุ |
|
dc.title |
การพัฒนาวิธีการประเมินภาวะพร่องทางปัญญาขั้นต้นโดยใช้พหุกิจกรรมควบคู่กับการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองในผู้สูงอายุไทย |
|
dc.title.alternative |
Development the procedure for ssessing mild cognitive impirment in thi older dult by using multi -tsk incorporting electroencephlogrphy mesurement |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The assessment of cognitive impairment has possessed limitations in terms of theory incompatibility and ignoring specific assessments of cognitive impairment-related cognitive processes. The objectives of the research were to develop the procedure for assessing cognitive impairment in Thai older adults by using multi-task incorporating electroencephalography measurement and to compare the brainwaves observed while working on the multi-task computerized program for three groups of older adults. The participants were 90 volunteers from Saen Suk Subdistrict, Meuang District, Chonburi, aged between 60-80 years old. The research instruments were Clinical Dementia Rating, MiniMental State Examination-Thai version, and Neuroscan Systems. Data were analyzed by means of ANCOVA and Effect Size. The results were as follows: 1) The multi-task computerized program for assessing cognitive impairment in Thai older adults was divided into three tasks, that is, task 1: auditory & visual Stroop interference, task 2: memory recognition (picture), and task 3: memory recognition (sound). The multi-task computerized program was assessed by experts and suitable for use. 2) The cumulative proportions of the response accuracy for task 1: auditory & visual Stroop interference and task 3: memory recognition (sound) was found to be significantly different at the .05 level and the mean response times for three tasks of the multi-task computerized program were not different. 3) The mean EEG relative power while working on the multi-task computerized program for assessing cognitive impairment was found to be significantly different for beta wave at the left temporal lobe and gamma wave at temporal lobe. 4) The mean amplitudes and latencies of N200 and P300 ERPs were found to be significantly different for older adults with different levels of cognitive impairment at frontal, central, parietal, and temporal lobes, that is, FZ, F5, CP5, P5, P6, T7, and T8 electrode sites. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|