DSpace Repository

การบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างในสถานประกอบการในความผิดชอบของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 สำนักงานประกันสังคม

Show simple item record

dc.contributor.advisor จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์
dc.contributor.author พิทยา สุขธงไชยกูล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:56:49Z
dc.date.available 2023-09-18T07:56:49Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10214
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง 2. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ลูกจ้างเฉพาะที่บาดเจ็บเนื่องจากการทำงานในสถานประกอบการในความรับผิดชอบของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 สำนักงานประกันสังคม จำนวน 212 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล คือ แบบประเมินการบาดเจ็บรายบุคคลของลูกจ้างในสถานประกอบการ และการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง คือ การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบอันดับ (Order logistic regression) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างลูกจ้างที่บาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน ส่วนใหญ่มีระดับการบาดเจ็บรุนแรงมาก คิดเป็นร้อยละ 85.4 รองลงมา คือ ระดับการบาดเจ็บเล็กน้อย ระดับการบาดเจ็บรุนแรงปานกลาง และระดับการบาดเจ็บที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ตามลำดับ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อระดับการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างพบว่า เพศ ตำแหน่งงาน ค่าจ้างที่ได้รับ ขณะประสบอันตราย การทำงานกับเครื่องจักรชำรุด การเลือกสวมอุปกรณ์ป้องกันบางชนิด การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัย และการอ่อนเพลียจากการอดนอน มีผลต่อระดับการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01, 0.01, 0.01, 0.01, 0.05, 0.01 และ 0.01 ตามลำดับ ในขณะที่อายุ ประสบการณ์ในการทำงานหรืออายุงานในแผนก จำนวนชั่วโมง ในการทำงาน การตรวจสอบเครื่องจักรขณะที่เครื่องจักรทำงาน การไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน อันตราย การใช้อุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ความเครียดขณะทำงาน และประสบการณ์ในการอบรม/ ฝึกปฏิบัติการความปลอดภัยในการทำงาน ไม่มีผลต่อระดับการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject บาดแผลและบาดเจ็บ
dc.subject อุบัติเหตุ -- การป้องกัน
dc.subject อุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.title การบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างในสถานประกอบการในความผิดชอบของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 สำนักงานประกันสังคม
dc.title.alternative Occuptionl injuries mong industril workers of the industril rehbilittion center region 2, socil security office
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aims to study 1. level of industrial workers’ occupational injuries and 2. factors affecting levels of industrial workers’ occupational injuries. Data collection was carried out from a sampling of 212 workers suffering from occupational injuries under responsibilities of the Industrial Rehabilitation Center Region 2, Social Security Office. The major tool for data collection includes an evaluation form on individual injuries of industrial workers, and data analysis highlights descriptive statistics, namely frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and inference statistics, particularly Order logistic regression. The results indicated that, in terms of workers suffering from industrial injuries, most of them – 85.4% -- suffered from severe injuries. The number was followed by minor, moderate and fatal injuries respectively. After taking factors affecting levels of occupational injuries among the workers, gender, occupational position, salary paid during accident, working with broken machines, selection of some types of safety equipment, not observing safety regulations and fatigue caused by lack of sleep resulted in occupational injuries at the level of statistical significance of 0.01, 0.01, 0.01, 0.01, 0.05, 0.01 and 0.01 respectively. Nonetheless, age, professional experiences or working years, working hours, inspection of working machines, not using safety equipment, using unsafe working equipment, stress at work and experiences from training/working on occupational safety did not affect levels of industrial workers’ occupational injuries at all.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account