Abstract:
ทำการสำรวจภาคสนามและเก็บตัวอย่างฟองน้ำทะเลและเอคไคโนเดิร์ม บริเวณพื้นที่ปกปันพันธุกรรมพืชทางทะเล เกาะแสมสารและเกาะใกล้เคียง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รวม 6 ครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 รวมทั้งสิ้น 18 สถานีสำรวจ โดยการดำน้ำแบบเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำ (SCUBA diving) เป็นหลัก รวมทั้งการเดินสำรวจ การดำน้ำแบบผิวน้ำ (skin diving) สุ่มสำรวจและเก็บตัวอย่างตลอดทั้งพื้นที่ศึกษาในเวลากลางวัน (day time) พบฟองน้ำทะเลทั้งหมด 59 ชนิด จาก 46 สกุล 34 วงศ์ 13 อันดับ 2คลาส พบฟองน้ำที่ยังไม่ได้มีรายงานว่าพบในน่านนำไทย จำนวน 2 ชนิด คือ Plakortis sp. "grey" และ Ceratopsion sp. "orange", Ecionemia acervus, Coelosphaera (Coelosphaera) sp. "white", Cladocroce sp. "white", Oceanapia sp. "orange", Clathrina sp. "white", Sycon sp. "white" ฟองน้ำทะเลที่พบเสมอและแพร่กระจายอยู่ทั่วไป ได้แก่ Monanchora unguiculata, lotrochota baculifera, Chondrilla australiensis, Chondrosia reticulate, Phobas arborescens, Biemna fortis, Neopetrosia sp. "blue", Xestospongia testudinaria และ Oceanapia sagittaria ฟองน้ำเหล่านี้เป็นฟองน้ำที่พบได้ทั่วไปในบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออกและเขตอินโดแปซิฟิค กลุ่มของฟองน้ำที่พบมากที่สุดคือ Order Haplosclerida พบ 16 ชนิด รองลงมา Order Poecilosclerida พบ 15 ชนิด สำหรับเอคไคโนเดิร์ม พบทั้งหมด 24 ชนิด จำแนกออกเป็น ดาวขนนก (Class Crinoidea) 2 ชนิด ดาวทะเล (Class Asteroidea) 1 ชนิดดาวเปราะ (Class Ophiuroidea) 7 ชนิด เม่นทะเล เหรียญทะเลและเม่นหัวใจ 6 ชนิด และปลิงทะเล (Class Holothuroidea) 8 ชนิด เอคไคโนเดิร์มที่พบเป็นชนิดเด่นและพบเสมอ ได้แก่ เม่นดำหนามยาว, Diadema setosum ดาวหมอนปักเข็ม, Culcita novaeguineae และปลิงดำ, Holothuria (Lessonothuria) Leucospilota เอคไคโนเดิร์มที่พบเป็นชนิดที่พบทั่วไปในแนวปะการังในอ่าวไทยฝั่งตะวันออก และทะเลจีนใต้ในเขตอินโด-แปซิฟิค จากการรวบรวมความหลากหลายทางชนิดของฟองน้ำทะเลและเอคไคโนเดิร์ม บริเวณพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช หมู่เกาะแสมสารและพื้นที่ใกล้เคียง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551-2554 รวมทั้งการศึกษาครั้งนี้ พบฟองน้ำทะเลทั้งหมด 93 ชนิดและเอคไคโนเดิรืม 34 ชนิด