DSpace Repository

การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคกระดูกโปร่งบางของสตรีวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนและวัยสูงอายุ

Show simple item record

dc.contributor.author อารีรัตน์ สังวรวงษ์พนา
dc.contributor.author ฉันทนา จันทวงศ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:11Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:11Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1019
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคกระดูกโปร่งบาง และค้นหาปัจจัยทำนายการเกิดโรคกระดูกโปร่งบาง ในสตรีวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนและวัยสูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรที่มีอาขุระหว่าง 40-86 ปี (อายุเฉลี่ย 54.33 ปี, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ± 8.11) เป็นสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือน วัยหลังหมดประจำเดือนและวัยสูงอายุ ซึ่งมารับการตรวจหาค่าความหนาแน่นของกระดูก ณ หน่วยเวชศษสตร์นิวเคลียร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายน 2542 จำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for window version 8 สถิติที่ใช้บรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาปัจจัยทำนายโรคกระดูกโปร่งบางใช้สถิติ discriminant analysis ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็น osteoporosis ของสตรีวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนและวัยสูงอายุ เป็นดังนี้ คือ ถ้าไม่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมมีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteoporosis เพิ่มขึ้น 1.0608 เท่า ถ้าอายุเพิ่มขึ้นมีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteoporosis เพิ่มขึ้น 0.0173 เท่า ถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้นมีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteoporosis เพิ่มขึ้น 0.0595 เท่า ถ้าใช้ยา steroid มีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteoporosis เพิ่มขึ้น 1.6504 เท่า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ร่วมคาดคะเน (D) การเป็นโรค osteoporosis ได้ร้อยละ 62.76 และสามารถเขียนเป็นสมการทำนายการเป็น osteoporosis ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ D = 5.3042 + 0.0173 age + 0.0595 weight + 1.6504 drug + 1.0608 hor ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็น osteopenia ของสตรีวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนและวัยสูงอายุ เป็นดังนี้คือ ถ้าอายุเพิ่มขึ้นมีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteopenia เพิ่มขึ้น 0.1031 เท่า ถ้าใช้ยา steoroid มีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteopenia เพิ่มขึ้น 0.9677 เท่า ถ้าไม่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมมีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteopenia 0.3835 เท่า ถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้นมีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteopenia ลดลง 0.0779 เท่า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ร่วมคาดคะเน (D) การเป็น osteopenia ได้ร้อยละ 62.76 และสามารถเขียนเป็นสมการทำนายเป็น osteopenia ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ D = -1.5463 + 0.1031 age - 0.0779 weight + 0.9677 drug + 0.3835 hor th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กระดูก - - โรค th_TH
dc.subject กระดูกพรุน - - โรค th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject ระดู th_TH
dc.subject วัยหมดระดู th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคกระดูกโปร่งบางของสตรีวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนและวัยสูงอายุ th_TH
dc.title.alternative Factors affecting osteoporosis of pre and postmenopausal and aging women
dc.type Research
dc.year 2544
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to examine factors affecting osteoporosis of pre and postmenopousal and aging woman. The sample consisted of 377 premenopausal, postmenopausal and aging women, aged 40-86 years old (Mean = 54.33 year old, SD±8.11). The sample was referred for bone mineral density screening at the NuclearUnit, Chulalongkorn Hospital, Thai Red Cross Society during April-November 1999. Interview from were developed by the researher. Data were collected by interviewing the sample using the developed forms and analyzed by using a computer program, SPSS for window version 8. Frequencies percentages, means, standard deviations and discriminant analysis were applied. The results of the study revealed thet pre and postmenopausal and aging women had a higher chance to have osteoporosis if they were older, had gained body weight, used steroid drugs, and did not receive estrogen replacement therapy. Woman who were older were 0.0173 times more likely to have osteopososis than those who were younger. Women who gained body weight were 0.0595 times more likely to have osteopososis than those who did not gain weight. Women who used steroid drug were 1.6504 times more likely than their counterparts to have osteopososis. Women who received estrogen replacement therapy were 1.0608 times more likely to have osteopososis then those who did not receive the therapy. These four factors together could predict osteopososis for 62.76%. The equation was: D = 5.3042 + 0.0173 age + 0.0595 weight + 1.6504 drug + 1.0608 hor Predictors of osteopenia were also older age, gained body weight, steroid drug use, lack of estrogen replacement. Womwn who were older, used steroid drugs, and lacked estrogen replacement were 0.1031, 0.9677, and 0.3895 time more likely to have osteopenia than their younger counterparts, respectively. However women who gained body weight were 0.0779vtime less likeky to have osteopenia. These four factors together could predict osteopenia for 62.76%. The equation was: D = -1.5463 + 0.1031 age - 0.0779 weight + 0.9677 drug + 0.3835 hor en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account