DSpace Repository

ปัจจัยด้านจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
dc.contributor.advisor พิชามญชุ์ อินทะพุฒ
dc.contributor.author สุภิศา จิตต์สม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:56:41Z
dc.date.available 2023-09-18T07:56:41Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10187
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstract นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งที่มีรายงานเกี่ยวกับการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์และอำนาจการทำนายของปัจจัยด้านจิตสังคมต่อพฤติกรรมการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 134 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งแบ่งได้เป็น 8 ส่วน เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) การเห็นคุณค่าในตนเอง 3) พฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ต 4) การสนับสนุนทางสังคม 5) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง 6) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน 7) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครูและ 8) การถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ได้มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบสอบถามในส่วนที่ 2-8 เท่ากับ .83, .94, .95, .84, .93, .88 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์เท่ากับ 24.88 (SD = 4.76) ถือเป็นการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในระดับต่ำ ปัจจัยด้านจิตสังคมที่สามารถทำนายการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ พฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ต (β = .297, p< 0.05) โดยสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของการการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ได้ร้อยละ 13.30 (R 2 = .133, p< 0.05) ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลวิชาชีพ บุคลากรด้านสุขภาพ คณาจารย์และผู้บริหารการศึกษา สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อการป้องกัน เฝ้าระวัง ตลอดจนลดปัญหาการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียนโดยฉพาะในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยส่งเสริมด้านการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างสร้างสรรค์และการมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ความรุนแรงในโรงเรียน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
dc.title ปัจจัยด้านจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
dc.title.alternative Psychosocil fctors influencing cyberbullying victimiztion mong upper secondry school students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative High school students are a group of teenagers who have reported of cyberbullying victimization. The purposes of this predictive correlational study were to examine cyberbullying victimization and the predictive power of psychosocial factors on this cyberbullying among upper secondary school students in Muang District, Buriram Province. Simple random sampling was used to recruit 134 participants. Eight questionnaires were used to gather data regarding 1) personal information; 2) Self-esteem; 3) Internet Addiction ; 4) Social Support; 5) Interpersonal relationship between students and their guardians; 6) Interpersonal relationship between students and friends; 7) Interpersonal relationship between students and their teachers, and 8) Cyberbullying Victimization. The Cronbach’s alpha coefficients of questionnaires no. 2-8 were .83, .94, .95, .84, .93, .88 and .89, respectively. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were employed for data analyses. The results revealed that the mean score of cyberbullying victimization of this sample was 24.88 (SD = 4.76), which can be classified as a low level. Psychosocial factors that significantly predicted cyberbullying victimization were Internet Addiction (β = .297, p< 0.05). These two factors could together explain cyberbullying victimization’s variance for 13.30 % (R 2 = .133, p< 0.05). The study results suggest that nurses, health related personnel, teachers and education administrators could apply the results for prevention, surveillance, and reducing cyberbullying victimization’s problems among students, high school students in particular. Promoting the use of the Internet creatively and good relationship between students and their parents is recommended.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account