DSpace Repository

การบูรณาการวิศวกรรมคันไซ โมเดลของคาโนและการตลาดเชิงประสบการณ์สำหรับงานบริการธุรกิจร้านกาแฟ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ฤภูวัลย์ จันทรสา
dc.contributor.author ภาณุพัฒน์ เจนสินธนานันท์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:56:40Z
dc.date.available 2023-09-18T07:56:40Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10186
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอตัวแบบการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของคุณลักษณะงานบริการร้านกาแฟเพื่อให้ผู้ประกอบการใช้เป็นแนวทางพัฒนางานบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าทั้งด้านรูปธรรมและอารมณ์ความรู้สึก ด้วยการบูรณาการเครื่องมือทางวิศวกรรม ได้แก่ โมเดลของคาโน และวิศวกรรมคันไซร่วมกับทฤษฎีการตลาด ได้แก่ การตลาดเชิงประสบการณ์ในการวิจัย ตัวแบบที่นำเสนอประกอบด้วย 5 เฟส เฟสที่ 1 เป็นการรวบรวมคำคันไซซึ่งเป็นคำที่แสดงอารมณ์และความรู้สึกจากการสัมภาษณ์และแอพพลิเคชั่นวงใน เฟสที่ 2 เป็นการกำหนดคุณลักษณะการบริการตามกรอบของการตลาดเชิงประสบการณ์ใน 5 มิติ เฟสที่ 3 เป็นการสำรวจความต้องการและความพึงพอใจผู้ใช้บริการร้านกาแฟ จำนวน 100 ราย ด้วย แบบสอบถามตามหลักการโมเดลของคาโนและวิศวกรรมคันไซ เฟสที่ 4 เป็นการวิเคราะห์ผลด้วยสถิติและโมเดลของคาโนเพื่อจัดลำดับความสำคัญของคุณลักษณะงานบริการและคำคันไซ และเฟสที่ 5 เป็นการนำเสนอแนวทางการปรับปรุงงานบริการผลการวิเคราะห์พบว่าคุณลักษณะงานบริการทั้งหมด 26 ข้อ มีงานบริการที่จำเป็นต้องปรับปรุงทั้งหมด 13 ข้อโดยคุณลักษณะงานบริการที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน ได้แก่ 1) การให้บริการที่รวดเร็วถูกต้องแม่นยำและ 2) ความสะอาดของเครื่องแต่งกายของพนักงาน ส่วนคำคันไซที่ได้รับการตอบสนองสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) สะอาด 2) รสชาติดีและ 3) เป็นมิตรผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าตัวแบบการวิเคราะห์นี้สามารถบ่งชี้ถึงคุณลักษณะงานบริการที่จำเป็นต้องปรับปรุงและสามารถประยุกต์กับธุรกิจอื่นในการพัฒนาคุณภาพงานบริการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
dc.subject ร้านกาแฟ
dc.subject การจัดการธุรกิจ
dc.subject งานบริการ -- การจัดการ
dc.title การบูรณาการวิศวกรรมคันไซ โมเดลของคาโนและการตลาดเชิงประสบการณ์สำหรับงานบริการธุรกิจร้านกาแฟ
dc.title.alternative The integrtion of knsei engineering, kno's model nd experience mrketing for cfé business services
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to propose the model to analyze and prioritize service attributes for the café business. The model provides guidelines for the business to perfectly improve their services satisfying the truly needs of the customers. The model combines engineering tools: namely Kano’s Model and Kansei Engineering with the marketing theory, which is Experience Marketing. The proposed model includes 5 phases. The 1st phase is collecting Kansei words which are emotional and feeling words from the customer interview and Wongnai application. The 2nd phase is identifying service attributes classified into 5 dimensions of Experience Marketing. In the 3rd phase, the survey of customer needs and satisfaction was performed using a sample of 100 customers. This questionnaire survey was constructed based on Kano’s Model and Kansei Engineering framework. In the 4th phase, the survey results were analyzed with statistics and Kano’s Model to prioritize service attributes and Kansei words. In the last phase, guidelines for service improvement were presented. The results of the analysis revealed that a total of 26 service attributes, 13 of which needed improvement. More precisely, service attributes that need to be improved urgently include: 1)Prompt, accurate service, and 2) Cleanliness of staff's clothing. Moreover, the top three responses for Kansei words were 1) Clean, 2) Tasty, and 3)Friendly. It could be concluded from the research that the proposed model can appropriately identify the service attributes that need to be improved and be applied to other businesses to improve service quality and create maximum customer satisfaction.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account