DSpace Repository

การเพิ่มความสามารถทางคณิตศาสตร์ขั้นต้นและความจำขณะคิดสำหรับเด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ด้วยโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางตัวเลขร่วมกับปัญญาสมานกาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
dc.contributor.advisor พีร วงศ์อุปราช
dc.contributor.author อารีย์ หาญสมศักดิ์กุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:54:05Z
dc.date.available 2023-09-18T07:54:05Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10157
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstract เด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ ควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กเล็ก การวัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางตัวเลขร่วมกับปัญญาสมานกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางตัวเลขร่วมกับปัญญาสมานกายเพิ่มความสามารถทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น และความจำขณะคิด ระหว่างกลุ่มเด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ที่ใช้โปรแกรมกับกลุ่มที่ใช้วิธีการสอนด้วยกิจกรรมในชั้นเรียนปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ที่เสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ที่ผ่านการคัดกรอง จำนวน 100 คน ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 50 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางตัวเลขร่วมกับปัญญาสมานกาย เครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปรตามเป็นแบบทดสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ขั้นต้นและแบบทดสอบความจำขณะคิดด้านตัวเลขแบบย้อนกลับและกิจกรรมทดสอบด้านมิติสัมพันธ์แบบย้อนกลับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, สถิติทดสอบไคสแคว์, การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว, การทดสอบที, การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียว และค่าขนาดอิทธิพล ผลการวิจัยปรากฎว่า โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางตัวเลขร่วมกับปัญญาสมานกาย สำหรับเด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยของดัชนีวัดความสอดคล้อง S-CVI/Ave = .97 และกลุ่มที่ใช้โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางตัวเลขร่วมกับปัญญาสมานกายกับกลุ่มที่ใช้กิจกรรมในชั้นเรียนปกติ หลังการทดลอง มีค่าคะแนนความถูกต้องและเวลาตอบสนองของการทดสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ขั้นต้นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าขนาดอิทธิพลอยู่ในระดับมาก (ηp2) = 0.37 และการทดสอบความจำขณะคิดด้านมิติสัมพันธ์ (Corsi) และด้านตัวเลข (Dspan) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าขนาดอิทธิพลอยู่ในระดับมาก (ηp2) = 0.28
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
dc.subject การศึกษาขั้นก่อนประถม
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title การเพิ่มความสามารถทางคณิตศาสตร์ขั้นต้นและความจำขณะคิดสำหรับเด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ด้วยโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางตัวเลขร่วมกับปัญญาสมานกาย
dc.title.alternative Enhncing erly mthemtics bilities nd working memory in preschool children t risk of dysclculi using numericl development nd embodied cognition progrm
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Preschool children at risk of dyscalculia can be ameliorated if an appropriate intervention is provided at an early age This research aimed to developan educational program for promoting numerical development and embodiedcognition for preschool children at risk of dyscalculia, and to assess its effectiveness One hundred kindergarten children participated in the study, randomly dividedintoexperimental and control groups of equal size Twenty training sessions were involved, with backward digit span and Corsi block tests administered in bothgroupsat the end of the sessions Data were analyzed using descriptive statistics (mean, standard deviation), Chi–square tests, one–way ANOVA, dependent t-test, one–wayMANCOVA, and effect size estimates Results showed that the developed program had an S-CVI/Ave valueof 9S The post-test response accuracy scores for mathematics ability of the experimental group were significantly greater than those of the control group at the 05 level of significance Response times in the experimental group were significantly lower (p<.01) with a large effect size (ηp2) = 0.37 Post-test response accuracy scores for working memory tasks (ie, backward digit span and Corsi-block) of the experimental group were significantly higher than those of the control group (p<.01), also withalarge effect size (ηp2) = 0.28
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account