Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อวัดและประเมินพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กรมการพัฒนาชุมชน ในพื้นที่ภาคตะวันออก และเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียน จำแนกตามอายุ อาชีพ และระดับการศึกษาของบิดามารดา ลักษณะครอบครัว ชุมชนที่อยู่อาศัย และเพศของเด็ก กลุ่มตัวอย่างเป้นเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี ที่อยู่ในคสวามดูแลรับผิดชอบของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กรมการพัฒนาชุมชนในจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา จำนวน 360 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 9 แห่งที่สุมมาจากจังหวัดชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบทดสอบพัฒนาการ DDST (Denver Develipmental Screening Test) ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละของข้อมูลที่เป็นลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และระดับพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการใช้ภาษาและการได้ยิน และด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม หาค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนพัฒนาการ (Developmental Quotient) และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียนโดยทดสอบค่าที (t-test แบบ Independent)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. เด็กก่อนวัยเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการโดยรวมอยู่ในระดับเร็วกว่าปกติ โดยมีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหวอยู่ในระดับปกติ และมีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการใช้ภาษาและการได้ยิน และด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคมอยู่ในระดับเร็วกว่าปกติ
2. เด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุ อาชีพ และระดับการศึกษาของบิดามารดาต่างกันมาค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการ (D.Q.) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
3. เด็กก่อนวัยเรียนเพศชายและเพศหญิง มีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการ (D.Q) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4. เด็กก่อนวัยเรียนที่มีลักษณะครอบครัวขยายและครอบครัวเดี่ยว มีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการ (D.Q.) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเด็กที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง มีค่าเฉลี่ยพัฒนาการสูงกว่าเด็กที่อาศัยอยู่ในชุมชนชนบท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this survey research were to asses and to compare the development of pre-school children in the child development centers, Department of Community Development in eastern area with different backgrounds of sex, family type, living area, age educational level, and occupation of their fathers and mothers. The samples comprised 360 children, age 3-5 years old, attending the child development centers in Chonburi, Rayong and Chachoengsao provinces.
The instruments for data collection were the questionnaires of general backgrounds and the Denver Developmental Screening Test (DDST). The standard statistical methods and t-test were used to analyze the data.
The results of the study indicated that:
1. Almost all pre-school children had faster development than average children. The children had normal development in gross motor development and had faster development than average children in fine motor-adaptive development, language development, and personal-social development.
2. There was no significant difference between mean scores of developmental quotient (D.Q) of children of fathers and mothers with different age. occupation and educational level.
3. There was no significant difference between mean scores of developmental quotient (D.Q) of boys and girls.
4. There was no significant difference between mean scores of developmental quotient (D.Q) of nuclear family of children and extended family of children. However. children in urban areas had higher development than those in rural areas at the .05 level.