Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 326 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ด้วยแบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของโรเซนเบอร์ก (Rosenberg's Self-esteem Scale, 1965) แบบประเมินความ สามารถในการดูแลตนเองของเอเวอร์สและคณะ (Evers, et al., 1985) และแบบวัดคุณภาพชีวิตของแคนทริล (Cantril, 1965) ผลการวิจัยพบว่า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการดูแลตนเอง (r = 84, P < .001) และคุณภาพชีวิต (r = .55, P < .001) ในขณะที่ความสามารถในการดูแลตนเองก็มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต (r = .35, P < .001) และพบว่าปัจจัยพื้นฐานเรื่องสถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต (r = -.14, P < .05) ปัจจัยพื้นฐานเรื่องการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้ศึกมีคุณค่าในตนเอง (r = .15, P < .05) และการศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต (r =.29, P < .001) เมื่อนำปัจจัยพื้นฐานเรื่องสถานภาพสมรส การศึกษา ความเพียงพอของรายได้ ความรู้สึกมีค่าในตนเอง และความสามารถในการดูแลตนเอง เข้าในสมการถดถอย พหุคูณเพื่อทำนายคุณภาพชีวิต พบว่า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความสามารถในการดูแลตนเอง และการศึกษา สามารถทำนายคุณภาพชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญและตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 38.16