DSpace Repository

การศึกษาความเป็นไปได้ของการติดตั้งแผงแสงอาทิตย์บนหลังคาเพื่อทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากสายส่ง กรณีศึกษา บริษัท ทีอี คอนเนคทิวิตี้ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิชย์
dc.contributor.author อธิชย์ ใจทาหลี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:51:18Z
dc.date.available 2023-09-18T07:51:18Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10096
dc.description งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์บนหลังคาในด้านเศรษฐศาสตร์ การรับน้ำหนักของโครงสร้าง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากวัฏจักรชีวิตของการใช้ไฟฟ้าจากแผงแสงอาทิตย์บนหลังคา เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าจากสายส่งของบริษัท ทีอี คอนแนคทิวิตี้ แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด การติดตั้งแผงแสงอาทิตย์ เป็นการติดตั้งบนหลังคาเมทัลชีท โครงสร้างหลังคาเหล็กทรงจั่ว ความลาดเอียง 4 องศาทั้งสองด้าน หลังคามีพื้นที่ทั้งหมด 10,804 ตารางเมตร สามารถติดตั้งแผงแสงอาทิตย์ได้สูงสุด 3,500 แผง คิดเป็นกำลังไฟฟ้าสูงสุด 1,155 kW อย่างไรก็ตามผู้ศึกษาเลือกศึกษาการติดตั้ง จำนวน 3,030 แผง คิดเป็นกำลังไฟฟ้า 999 kW เพื่อให้เหมาะสมต่อวัตถุประสงค์ในการใช้งาน และความปลอดภัยของโครงสร้างอาคารในการศึกษานี้ได้ทดลองเปรียบเทียบแผงโซล่าร์เซลล์ยี่ห้อ Astro และ Canadian พบว่า ยี่ห้อ Astro มีแรงดันไฟฟ้าที่ต่ำลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับยี่ห้อCanadian สำหรับการทดลองการติดตั้งทรงจั่วทั้งสองทิศด้วยสภาวะการใช้งานจริง พบว่า ทิศทางการติดตั้งทั้งสองด้านของหลังคาไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการรับแสง ผลการวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างเดิมโดยใช้โปรแกรม Solid Works พบว่า มีผลต่อค่า Safety Factor 3.45 และการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์จากการลงทุน พบว่า ต้องใช้เงินลงทุน 27.5 ล้านบาท มูลค่า NPV 25.9 ล้านบาท มีระยะเวลาคืนทุน 7.48 ปี สำหรับการวิเคราะห์การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากวัฏจักรชีวิตของการใช้ไฟฟ้าจากการติดตั้งแผงแสงอาทิตย์บนหลังคา เพื่อทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากสายส่ง พบว่า สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอยู่ที่ 836.35 ตัน CO₂-eq ต่อปีในปี แรก โดยมีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมด 17,797.83 ตัน CO₂-eq ตลอดอายุการใช้งานของแผงแสงอาทิตย์หรือ 25 ปีโดยใช้เวลาทั้งหมด 3.48 ปี ในการชดเชยการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโครงการนี้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject แผงรวมแสงอาทิตย์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
dc.subject พลังงานแสงอาทิตย์
dc.title การศึกษาความเป็นไปได้ของการติดตั้งแผงแสงอาทิตย์บนหลังคาเพื่อทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากสายส่ง กรณีศึกษา บริษัท ทีอี คอนเนคทิวิตี้ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
dc.title.alternative Fesibility studie of solr rooftop implementtion: cse study te connectivity mnufcturing (thilnd) co.,ltd
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This study aims to evaluate the feasibility of solar rooftop implementations on TE Connectivity Manufacturing (Thailand) Co., Ltd. Three feasibilities for grid electricity substation, which are economic analysis, the strength of roof structure and life cycle analysis, are studied. In this study, the gable slope and the area of the metal panel roof are 4 and 10,804 m2 , respectively. A total of 3,500 solar panels can be installed on the roof structure, but only 3,030 panels, which is 999 kW power system, are evaluated because the grid substation is used only in the company, not for sale to the Electricity Authority or PEA. Two solar panels, which are Astro and Canadian, were compared. It was found that the solar voltage of the Astro panel reduces when the panel temperature increases. Installation of the panels on two gable roof directions did not decrease the panel’s efficiency because of low difference of its slope. The strength analysis of the roof structure was analyzed and simulated by using Solid Works, the commercial software. It was found that safety factor of the installation is 3.45. In economic view of the solar installation, it was found that the investment of the grid substation is 27.5 million Baht which has an NPV of 25.9 million Baht and a payback period of 7.48 years. By using life cycle analysis for the grid substation, the result found that implementation of solar panels can reduce CO2 emission from Grid Electricity of PEA which the substitution period of 3.48 years. It is also found that CO2 emission will be reduced by 836.35 ton CO2 -eq in the first year and total 17,798 ton CO2 -eq throughout the expectation panel life of 25 years.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account