DSpace Repository

การนำน้ำมันเครื่องยนต์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ด้วยกระบวนการกลั่นแบบไพโรไลซิส

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศรีสุดา นิเทศน์ธรรม
dc.contributor.advisor เอมม่า อาสนจินดา
dc.contributor.author เนาวรัตน์ ชมภูนุช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:51:18Z
dc.date.available 2023-09-18T07:51:18Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10095
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การนำน้ำมันเครื่องยนต์กลับมาใช้ใหม่ด้วยกระบวนการกลั่นแบบไพโรไลซิส เพื่อเปลี่ยนน้ำมันเครื่องยนต์ใช้แล้วให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่สามารถใช้งานทดแทนน้ำมันดีเซลด้วยเครื่องปฏิกรณ์ไพโรไลซิสแบบคู่ (Two-stage reactor) และศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของกระบวนการ ได้แก่ อุณหภูมิในเครื่องปฏิกรณ์และคอลัม น์กลั่นน้ำมัน อัตราการไหลของแก๊สตัวพา และอิทธิพลของตัวเร่งปฏิกิริยา 3 ชนิด ได้แก่ Fe2O3 , Na2CO3 และ Bentonite จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิมีอิทธิพลโดยตรงต่อกระบวนการไพโรไลซิสที่มีปฏิกิริยาหลัก คือ Thermal cracking และการเพิ่มอัตราการไหลของแก๊สตัวพาช่วยเพิ่มความสามารถในการถ่ายโอนความร้อนของน้ำมันตั้งต้นในเครื่องปฏิกรณ์ซึ่งส่งผลต่อการแตกตัวของน้ำมันในปฏิกิริยาดังกล่าวโดยสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตน้ำมันไพโรไลซิส ได้แก่ อุณหภูมิไพโรไลซิสเท่ากับ 400°C อุณหภูมิในคอลัมน์กลั่นน้ำมัน เท่ากับ 250°C และอัตราการไหลของแก๊สตัวพาเท่ากับ 30 mL/min ซึ่งที่สภาวะดังกล่าวสามารถผลิตน้ำมันไพโรไลซิสที่มีองค์ประกอบของแนฟทาเคโรซีน และแก๊สออยล์รวมกันสูงที่สุด และสมบัติของน้ำมันไพโรไลซิส ได้แก่ ความถ่วงจำเพาะและความหนืด มีค่าอยู่ในช่วงมาตรฐานของน้ำ มันดีเซลหมุนเร็วในขณะที่จุดวาบไฟยังมีค่าที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ส่วนการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการเกิดปฏิกิริยา Catalytic cracking พบว่า Na2CO3 มีความสามารถในการเลือกเกิดปฏิกิริยากับ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลใหญ่โดยน้ำมันไพโรไลซิสที่ได้จะมีองค์ประกอบของ Heavy oil เจือปนอยู่และการใช้ Fe2O3 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะให้ปริมาณน้ำมันไพโรไลซิสต่ำกว่า Na2CO3 แต่มีความสามารถในการลดปริมาณซัลเฟอร์ในน้ำมันอย่างเห็นได้ชัดในขณะที่ตัวเร่งปฏิกิริยา Bentonite ให้ปริมาณน้ำมันไพโรไลซิสต่ำที่สุดแต่มีความสามารถในการเลือกเกิดปฏิกิริยาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เป็นแนฟทาสูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดอื่น ๆ อย่างไรก็ตามการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไพโรไลซิสไม่มีผลในการเพิ่มค่าจุดวาบไฟของน้ำมันแต่พบว่า การเพิ่มค่าจุดวาบไฟสามารถทำได้ด้วยการนำน้ำมันไพโรไลซิสมากลั่นซ้ำอีกครั้ง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
dc.subject การแยกสลายด้วยความร้อน
dc.title การนำน้ำมันเครื่องยนต์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ด้วยกระบวนการกลั่นแบบไพโรไลซิส
dc.title.alternative Recovery of used engine oil by pyrolysis distilltion process
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research focuses on producing diesel-like fuel oil from used engine oil by pyrolysis distillation process. Two-stage reactor was employed for pyrolysis of used engine oil in this study. The operating conditions affected on the pyrolysed oil were studied as following: pyrolysis temperature, distillation temperature and carrier gas flowrate. The effect of catalysts (Fe2O3 , Na2CO3 , bentonite) on the pyrolysis of used engine oil was also investigated. The results revealed that thermal cracking, primary reaction in pyrolysis process, was directly affected by pyrolysis temperature. An increase in carrier gas flowrate couldimprove the heat transfer in raw used oil during pyrolysis. The optimum condition for pyrolysis of used engine oil was found by using pyrolysis temperature at 400°C, distillation temperature at 250°C and carrier gas flowrate at 30 mL/min. By using such condition,pyrolysed oil with the maximum compositions of naphtha, kerosene and gasoil was obtained. The properties of pyrolysed oil such as specific gravity and viscosity met the value of diesel standard except the flash point. According to the effect of catalysts, we found that Na2CO3 catalyst hadthe high selectivity with large molecule of hydrocarbons, resulting in the presence of heavy oil in pyrolysed oil. Moreover, Na2CO3 yielded the higher amount of pyrolysed oil than Fe2O3 while the later was highly effective for removing sulfur from pyrolysed oil. Bentonite hadhigher selectivity for producing naphtha than the other catalysts but it yielded the lowest amount of pyrolysed oil. However, flash point of pyrolysed oil was not improved by using catalyst. It was found that flash point can be improved by redistillation of pyrolysed oil.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมเคมี
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account