DSpace Repository

รูปแบบการลงทุนของประกันสังคมไทยที่มีประสิทธิภาพ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดิ์ชาย จันทร์เรือง
dc.contributor.author ฐิติมา สุ่มแสนหาญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:51:14Z
dc.date.available 2023-09-18T07:51:14Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10075
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการลงทุนของประกันสังคมไทยที่มีประสิทธิภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการลงทุนของประกนสังคมไทยที่มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อศึกษานโยบายการลงทุนของประกันสังคมไทยที่มีประสิทธิภาพ โดยการศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกสัมภาษณ์ (In-depth interview) และการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต (เทคนิคเดลฟาย) จำนวน 3 รอบ ของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินของสำนักงานประกันสังคม 10 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการลงทุนของสำนักงานประกันสังคม 7 คน และทำการยืนยันผลการวิจัยกับคณะกรรมการประกัน สังคม คณะอนุกรรมการประกันสังคม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน และการลงทุนของสำนักงานประกันสังคม 71 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ และตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า จากการสัมภาษณ์เชิงลึกการใช้เทคนิคเดลฟายและการสนทนากลุ่มกับคณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินและการลงทุนของสำนักงานประกันสังคม ประสบปัญหาที่สำคัญ คือ สัดส่วนในการลงทุนยังไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากยังสามารถกระจายการลงทุนออกไปยังต่างประเทศได้มากกว่าเดิมและบุคลากรของสำนักงานประกัน สังคม ยังขาดทักษะในการบริหารการลงทุนปริมาณ และสำนักงานประกันสังคมยังเห็นว่า ปัญหาด้านบุคลากรที่ตรงกับความต้องการมีจำกัด ดังนั้น กองทุนประกันสังคมควรพิจารณาที่จะศึกษาและคัดสรรทางเลือกในการลงทุนที่มีหลายรูปแบบในต่างประเทศให้มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มทางเลือกให้กับกองทุนให้ได้มีโอกาสในการเข้าถึงการลงทุนที่อาจให้ผลประโยชน์ในระยะยาวและมีความเสี่ยงที่อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ซึ่งจะช่วยให้กองทุนมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น และควรพัฒนาด้านบุคลากร ทั้งด้านทักษะความรู้เฉพาะด้าน เช่น การอบรมในการลงทุนในต่างประเทศให้มากขึ้น เพิ่มทักษะในการใช้เทคโนโลยีเข้าถึงระบบฐานข้อมูลได้รวดเร็ว ถูกต้อง นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ไปตัดสินใจในการลงทุนได้ทันท่วงทีเพื่อประโยชน์ความมั่นคงอย่างยั่งยืนของประเทศต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ประกันสังคม
dc.subject การลงทุน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title รูปแบบการลงทุนของประกันสังคมไทยที่มีประสิทธิภาพ
dc.title.alternative The effective investment model of the thi socil security fund
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study 1) effective investment model of Thai Social Security Fund and 2) the effective investment policy of Thai Social Security Fund. For the research methodology in this study consisted of in-depth interviews and secondary data analysis by using future research techniques (Delphi techniques). This process was repeated three times to 10 financial experts of the Social Security Office and 7 investment experts of Social Security Office. To confirm the research results, the focus group was conducted with 71 finance and investment experts of the Social Security Office and members of Social Security Committee to get complete information that would meet the research objectives. From in-depth interviews, the use of delphi techniques, and a focus group discussion with the Social Security and Investment Committee of the Social Security Office, it was found that the main problem they encountered was that the investment proportion was not yet fully effective as it should be because the investment could not be distributed to more countries. Moreover, the personnel of the Social Security Office still lacked the skills to manage the investment. In addition, the Social Security Office staff agreed that there was the limited number of personnel who had requirements. Therefore, the Social Security Fund should consider to study and select more investment options in many different countries. This is to diversify risks and provide more options for funds to have access to investments that may provide long-term benefits and risks that are within acceptable limits. This will help the fund to have more investment options. In addition, the personnel should be developed both in terms of skills and specific knowledge. For example, they should receive trainings to invest in foreign countries, to have more skills in using technology to have quick and accurate access to the database system, and to be able to use the analyzed data to make investment decisions in a timely manner for the benefit of sustainable stability of the country
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การจัดการสาธารณะ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account