dc.contributor.advisor |
บรรพต วิรุณราช |
|
dc.contributor.author |
ภุมเรศ จันทร์สว่าง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-18T07:51:13Z |
|
dc.date.available |
2023-09-18T07:51:13Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10074 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเกิดผลกระทบในการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ภาคตะวันออกให้เกิดมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จากยางพารา 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขสำหรับผู้ที่มีมีส่วนได้เสียในการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี สำหรับเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นการทำวิจัยแบบผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เกษตรสวนยางพาราภาคตะวันออกผู้ประกอบการและนักวิชาการและเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรผู้เพาะปลูกยางพารา จำนวน 400 คน ผลการวิจัย พบว่า การหาการเกิดผลกระทบ ด้านผลผลิตและการดำเนินการกระบวนการตัดสินใจ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง เรื่องของการเพาะปลูกและการผลิตเพื่อแปรรูปต่าง ๆ ด้านการออกแบบระบบ สังคมและเทคนิค ส่งผลต่อการเสริมสร้างทักษะและเทคนิคของเกษตรกรในการทำเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า ได้ดียิ่งขึ้น ด้านพฤติกรรมกลุ่มและทีมส่งผลทำให้เกิดพฤติกรรมการปรับตัวในการทำงาน ด้านประสบการณ์ของผู้จัดการและประวัติองค์กร เกิดผลกระทบในเรื่องของการสร้างแรงบันดานใจเมื่อเห็นผู้ที่ทำการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านกระบวนการตัดสินใจ ส่งผลให้สามารถแจกแจงปัญหาเกี่ยวกับการใช้ เทคโนโลยีได้ ด้านเทคนิคการจัดการวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน ในเรื่องของทักษะเทคนิควิธีการต่าง ๆ ด้านระบบการเงิน ส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการลงทุน ด้านกิจกรรมวิศวกรรม ส่งผลในเรื่องของการประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการและแนวทางกลยุทธศาสตร์การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้น กลยุทธ์ที่ต้องดำเนินการนั้น มีทั้งหมด 8 กลยุทธ์ตามจำนวนตัวแปร โดยสามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ คือ 1) กลยุทธ์กระบวนการตัดสินใจ ส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.568 หน่วย 2) กลยุทธ์เทคนิคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.477 หน่วย 3) กลยุทธ์การจัดการประสบการณ์และองค์กรส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.301 หน่วย 4) กลยุทธ์ระบบการเงินส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.248 หน่วย 5) กลยุทธ์ผลผลิตและการดำเนินการนั้น ส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.244 หน่วย 6) กลยุทธ์พฤติกรรมกลุ่มและทีมส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.161 หน่วย กลยุทธ์กิจกรรมวิศวกรรมส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.152 หน่วย กลยุทธ์ระบบสังคมและเทคนิคจะส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.130 หน่วย |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
สวนยาง |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ |
|
dc.subject |
ยางพารา |
|
dc.subject |
นวัตกรรมทางการเกษตร |
|
dc.subject |
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก |
|
dc.title |
การจัดการนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ภาคตะวันออก |
|
dc.title.alternative |
Innovtion nd technology mngement for lrge plnttion of rubber frmers in the estern region |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to study 1) the impact of innovation and technology management on large rubber plantation farmers in the Eastern region, 2) innovation and technology management for large plantation farmers in the eastern region to increase value of rubber products, and 3) guidelines for development and correction for those who were interested in innovation and technology management for large-sized rubber plantation farmers in the eastern region. The study was mixed-method research. For qualitative data, the data were collected from Eastern rubber plantation agriculture, entrepreneurs and scholars. For quantitative study, the data were collected from the sample group consisting of 400 rubber farmers. The result of the research revealed that discovery of the impact on productivity and decision making processes could cause the lower production cost. Cultivation, production for various processing, social system and technical design affected the enhancement of farmers’ skills and techniques in agriculture to add more value. Group and team behavior resulted in adjustment behavior in their work. Manager’s experiences and organizational background had an impact on the creation of inspiration when they saw other people using technology innovation. Decision process resulted in being able to clarify problems related to the use of technology. Management science techniques resulted in a step-by-step learning process for skills, techniques, andmethods. Financial system resulted in investment support. Engineering activities resulted in the satisfaction assessment of farmers before and after participating in the project. In addition, there were 8 strategies for managing innovation and technology and they had to be implemented according to the number of variables. These strategies could be prioritized as follows 1) strategy of decision making process affected the value increase by 0.568 units; 2) strategic management techniques in science affected the value increase by 0.477 units; 3) experience and organization management strategy affected the value increase by 0.301 units; 4) financial system strategy affected the value increase by 0.248 units; 5) strategy of production and operation affectedthe value increase by 0.244 units; 6) group and team behavior strategy resulted in an increase of value added by 0.161 units; 7) engineering activities strategy resulted in an increase in value of 0.152 units; and 8) strategy of social systems and techniques affected the value increase by 0.130 units. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การจัดการสาธารณะ |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|