dc.contributor.advisor | กนก พานทอง | |
dc.contributor.advisor | สุกัญญา เจริญวัฒนะ | |
dc.contributor.advisor | นิรอมลี มะกาเจ | |
dc.contributor.author | ณัฐธิดา บังเมฆ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:51:11Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:51:11Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10064 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกบนบกและศึกษาผลการฝึกบนบกที่มีต่อสมรรถภาพทางกายความสามารถในการว่ายน้ำ สภาพโภชนาการและระดับฮอร์โมน IGF-I ในนักกีฬาว่ายน้ำเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักกีฬาว่ายน้ำสโมสรว่ายน้ำ โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา อายุ 9-15 ปี เพศชาย จำนวน 11 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 6 คน และกลุ่มควบคุม 5 คน ด้วยวิธีการจับคู่ (Matchpair) แล้วสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลากกลุ่มทดลองทำการฝึกบนบกร่วมกับการฝึกว่ายน้ำ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ขณะที่กลุ่มควบคุมฝึกว่ายน้ำตามโปรแกรมของสโมสรตามปกติทำการเก็บข้อมูลสมรรถภาพทางกาย ความสามารถในการว่ายน้ำ และสภาพโภชนาการก่อน และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4, 8 และ 12 และตรวจวัดระดับฮอร์โมน IGF-I ก่อน และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 12วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Friedman test, Wilcoxon signed ranks test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการฝึกบนบกทำการฝึกครั้งละ 6 ท่าแต่ละท่าทำ 10-14 ครั้ง/ เซท จำนวน 3 เซท สัปดาห์ละ 2วัน ระยะเวลารวม 12 สัปดาห์ 2) สมรรถภาพทางกายด้านน้ำหนักตัว ส่วนสูง ความกว้างของช่วงแขน มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของกลุ่มทดลองหลังการฝึก 12 สัปดาห์มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติส่วนเส้นรอบวงต้นแขน เปอร์เซนต์ไขมัน และมวลไขมัน พบว่า ไม่แตกต่างกับก่อนการฝึก 3)ความสามารถในการว่ายน้ำ ด้านเวลาในการว่ายน้ำ ท่าฟรีสไตล์ 100 เมตร ของกลุ่มทดลองหลังการฝึก 12 สัปดาห์ พบว่า มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติส่วนความสามารถในการว่ายน้ำเชิงแอโรบิก (Critical swim speed) และแอนแอโรบิก (Anaerobiccriticalvelocity) พบว่า ไม่แตกต่างกับก่อนการฝึก 4) สภาพโภชนาการด้านพลังงานพื้นฐานของร่างกาย (BMR) พลังงานรวมที่ร่างกายใช้ต่อวัน (TDEE) และวิตามิน B12 ของกลุ่มทดลองหลังการฝึก 12 สัปดาห์มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5) ระดับฮอร์โมน IGF-I ของกลุ่มทดลองก่อน และหลังการฝึก 12 สัปดาห์ พบว่า ไม่แตกต่างกัน 6) สมรรถภาพทางกายความสามารถในการว่ายน้ำ และระดับฮอร์โมน IGF-I ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการฝึก 12 สัปดาห์ พบว่า ไม่แตกต่างกัน ส่วนการบริโภคแคลเซียม และวิตามิน C หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 12 พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก | |
dc.subject | สมรรถภาพทางกาย | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา | |
dc.subject | การออกกำลังกาย | |
dc.title | ผลของการฝึกบนบกที่มีต่อสมรรถภาพทางกายความสามารถในการว่ายน้ำและฮอร์โมน IGF-I ในนักกีฬาว่ายน้ำเยาวชน | |
dc.title.alternative | The effects of dry lnd trining progrm on physicl fitness,swimming performnce nd hormone igf-i in young swimmers | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of the study was to develop a dry-landtrainingprogram and tostudy the effects of a dry-landtraining program on physical fitness, swimming performance, nutritional status, and hormone IGF-I in young swimmers. The participants consisted of 11 male swimmers of the Assumption CollegeSriracha swimming club, whose age were 9-15 yearsold. They were divided into two groups with MatchPair and randomly assignment. They were anexperimental group(n=6) and a controlgroup (n=5). An experimental group conducted witha dry-land trainingand swimming training for 12 weeks, while participants in the control grouppracticed with the regular swimming training of swimming clubof Assumption College,Sriracha. The data about physical fitness, swimming performance, and nutritional status, were collected before and after training weeks 4,8 and12 and IGF-I concentration before andafter week 12. Thedata were analyzed by usingFriedman test, Wilcoxon Signed Ranks Test, and Mann-Whitney U test. The results of the research were as follows: 1) Dry landtraining program, performed 6 exercises at a time, each exercise10-14 times/set, 3 sets, twicedays a week, totalduration 12 weeks. 2)Physical fitness: body weight, height, arm span, fat free mass and muscle strength of the experimental groupof training were significantly increasedafter 12 weeks.For the arm circumference, percentage of body fat and fat mass were not significantly different from before training. 3)Swimming performance: 100m freestyle swimming time of the experimental groupafter 12 weeks of training, it was found that there was a statistically significant decrease.For critical swim speed and anaerobic criticalvelocity, there were no different betweenbefore and after training. 4) Nutritional status: basal metabolic rate (BMR), total dailyenergyexpenditure (TDEE) and vitamin B12of the experimental groupincreased with statistically significant after 12 weeks of training. 5) IGF-Ihormone levels in the experimental groupbefore and after 12 weeks of training, there was no difference. 6)Physical fitness, swimming performance, andIGF-Ihormone levels between the experimental groupand the control group before and after 12 weeks of training, there was no difference.For the calcium and vitamin C intake after the week 12th, it was found that there was statistically significantdifference. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |