DSpace Repository

การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะหมัดชุดกีฬามวยสากลด้วยการเสริมการฝึกเอส เอ คิว และการให้ผลย้อนกลับด้วยวีดีทัศน์

Show simple item record

dc.contributor.advisor รังสฤษฏ์ จำเริญ
dc.contributor.advisor นภพร ทัศนัยนา
dc.contributor.advisor ปริญญา เรืองทิพย์
dc.contributor.author ดวงมณี แสนปัญญา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:51:10Z
dc.date.available 2023-09-18T07:51:10Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10063
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง และทดลองใช้โปรแกรมการฝึกเอส เอ คิว และการให้ผลย้อนกลับ ด้วยวีดีทัศน์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะหมัดชุดในกีฬามวยสากลสมัครเล่น โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปี การศึกษา 2562 ของโรงเรียนพรสวรรค์กีฬากายกรรมที่สปป.ลาวอายุระหว่าง 15-18 ปี โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น 30 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม (Two group pre-test post-test design) เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน โดยใช้ผลการทดสอบทักษะหมัดชุดที่สร้างโดยแดนพิทักษ์ ผัสดี (2547) ผู้วิจัยสร้างโปรแกรม และคู่มือการใช้จากการศึกษาเอกสารอ้างอิง และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และนำประเมินความตรงตามเนื้อหา (Index of items objective congruence: IOC) ทำการทดลองโปรแกรม ทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เปรียบเทียบก่อนการฝึกกับหลังการฝึกด้วยสถิติ Wilcoxon signed rank test วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ทดลองกับกลุ่มควบคุมด้วย The Mann-Whitney U test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมการฝึกเอส เอ คิวและการให้ผลย้อนกลับด้วยวีดีทัศน์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะหมัดชุดในกีฬามวยสากลสมัครเล่น มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.3807 และ IOC เท่ากับ 1.00 2. กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะหมัดชุดหลังจากการทดลองในสัปดาห์ที่ 8 สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะหมัดชุดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกเอส เอ คิวและการให้ผลย้อนกลับด้วยวีดีทัศน์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายและการกีฬา
dc.subject มวยสากล -- การฝึก
dc.title การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะหมัดชุดกีฬามวยสากลด้วยการเสริมการฝึกเอส เอ คิว และการให้ผลย้อนกลับด้วยวีดีทัศน์
dc.title.alternative Progrm development to enhnce the combintion punches skills by dded sq trining nd video feedbck
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This experimental research was aimed to create the training program to enhance the skills of combination punches in boxing by training with SAQ and Video feedback. The Program constructed by integrated the data from texts, video clips and in-depth interviewing 9 experts, then evaluated the validity by IOC. The program was experimented with two group pretest-posttest dessign. The participants were 30 students at Sports Talent School in Laos. Matching technique was divided into experiential group and control group by boxingcombination punches test (Dan pitux pusdi 2004) The matching and simple random was used to select the 15 participants each into experimental and control groups. The experimental group was trained with added the program with SAQ and video feedback but the control group was train with normal traditional program. The experiment took 8 weeks, 3 days a week. The statistics were analyzed in term of Mean, Standard Deviation, Test the difference between before training and after training with Wilcoxon Signed Rank Test, and test the differences between the experimental group and the control group with The Mann-Whitney U test. The results showed that 1. The experimental group training program and the video feedback program had the effectiveness index: E.I. equals 0.3807 and the IOC equals 0.3807 2. The post-test was better than pretest in the experimental group with statistically significant difference at .05 level 3. The Post test of experimental group was better than the posttest of control group with significantly difference at the .05 level 4. The satisfaction of the experimental group showed a high level of satisfaction
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account