DSpace Repository

ผลการประยุกต์ใช้จินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงร่วมกับสุคนธบำบัดที่มีผลต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อต้นขาและอัตราการเต้นของหัวใจในนักกีฬามหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
dc.contributor.advisor เกษม ใช้คล่องกิจ
dc.contributor.advisor ฉัตรกมล สิงห์น้อย
dc.contributor.author เกศิณี รัตนเปสละ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:51:10Z
dc.date.available 2023-09-18T07:51:10Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10062
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการคลายตัวของกล้ามเนื้อต้นขาและอัตราการเต้นของหัวใจจากการประยุกต์ใช้การจินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงร่วมกับสุคนธบำบัด และการใช้การจินตภาพ ประกอบดนตรีบรรเลงในนักกีฬาระดับ มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง เป็นนิสิตที่เป็นนักกีฬาตัวแทนมหาวิทยาลัยที่อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 30 คน (เพศชาย 15 คน และเพศหญิง 15 คน) การสุ่มเพื่อเข้ากลุ่ม จำนวน 3 กลุ่ม (กลุ่ม ๆ ละ 10 คน) ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วย 1) กลุ่มนั่งพัก 2) กลุ่มโปรแกรมการจินตภาพ ประกอบดนตรีบรรเลงและ 3) กลุ่มโปรแกรมการจินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงร่วมกับสุคนธบำบัด เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยเครื่องวัดสัญญาณป้อนกลับทางชีวภาพ โปรแกรมการจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายจักนยานวัดงานอุปกรณ์พ่นละอองไอน้ำ น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ การทดลองได้ออกแบบให้ผู้เข้าร่วมการทดลองออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานวัดงานกระทั่งมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ร้อยละ 75 ของชีพจรสูงสุด จึงเข้ารับโปรแกรมการผ่อนคลายทั้ง 3 รวบรวม ข้อมูลโดยวัดผลก่อน-หลังการทดลอง และบันทึกผลทุก ๆ 4 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหลายตัวแปร (Multivariate analysis of variance: MANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. การคลายตัวของกล้ามเนื้อต้นขาของกลุ่มนั่งพักมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.49, 9.26, 7.09, 4.30 และ 2.41 ไมโครโวลต์ ตามลำดับ กลุ่มโปรแกรมการจินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.54, 8.84, 5.11, 2.20 และ 1.25 ไมโครโวลต์ ตามลำดับ และกลุ่มโปรแกรมการจินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงร่วมกับสุคนธบำบัด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.13, 6.02, 3.26, 1.99 และ 0.96 ตามลำดับ 2. อัตราการเต้นของหัวใจของกลุ่มนั่งพักมีค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นของหัวใจลดลงเท่ากับ 151.40, 136.40, 122.20, 113.10 และ 101.00 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ กลุ่มโปรแกรมการจินตภาพประกอบดนตรีบรรเลง มีค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นของหัวใจลดลงเท่ากับ 151.20, 129.00, 111.80, 96.10 และ 90.40 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ และกลุ่มโปรแกรมการจินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงร่วมกับสุคนธบำบัด มีค่าเฉลี่ยของอัตราการ เต้นของหัวใจลดลงเท่ากับ 151.20, 112.20, 98.50, 87.70 และ 82.40 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ 3. เมื่อทดสอบความแปรปรวนแบบหลายตัวแปรของทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน และการทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายและการกีฬา
dc.subject การผ่อนคลาย
dc.subject การผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสสิพ
dc.subject กล้ามเนื้อ
dc.title ผลการประยุกต์ใช้จินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงร่วมกับสุคนธบำบัดที่มีผลต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อต้นขาและอัตราการเต้นของหัวใจในนักกีฬามหาวิทยาลัย
dc.title.alternative The effect of imgery with bckground music nd romtherpy on decresed qudriceps muscle tension nd hert rte in university thletes
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The aim of this study was to compare the effect of relaxation imagery with background music and aromatherapy, and imagery with background music on the decreaseof quadriceps muscle tension and heart rate in university student-athletes after exercise. The participants of this study were 30 volunteer student-athletes in the university (15 males and 15 females). The participants were simply randomized into 3 groups (10 persons in each group), including 1) the sit-resting group, 2) the imagery with background music group, and 3) the imagery with background music and aromatherapy group. The instruments include biofeedback measure (microvolts: µV), the imagery with background music, ergometer bicycle, lavender oil sprayer, and heart rate monitor. The experimental design was the moderate exercise on bicycle at 75% of maximum heart rate, rest 1 minute, and experiment on 3 groups of relaxation program. The data were collectedusing pre-post tests and was recorded every 4 minutes. The statistics used to analyze the data were Mean, Standard deviation, and Multivariate Analysis of Variance (MANOVA). The resultsof this study found that: 1. The Meansof quadriceps muscle relaxation of the sit-resting group are 13.49, 9.26, 7.09, 4.30, and 2.41 µV. The Meansof imagery with background music for relaxation group are 12.54, 8.84, 5.11, 2.20, and 1.25 µV. Also, the Meansof imagery with background music and aromatherapy for relaxation group are 12.13, 6.02, 3.26, 1.99 and 0.96 µV. 2. The Meansof decreased heart rate of the sit-resting group are at 151.40 136.40 122.20 113.10 and 101.00 time/min. The Meansof decreased heart rate of imagery with background music for relaxation group are at 151.20 129.00 111.80 96.10 and 90.40 time/min. In addition, the Meansof decreased heart rate of imagery with background music and aromatherapy for relaxation group are at 151.20, 112.20, 98.50, 87.70, and 82.40 time/min. 3. The compared Multivariate Analysis of Variance of the 3 groups found that there was no significant difference. Furthermore, the within-subject experiment in all of the 3 groups found a significant difference at 0.05.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account