DSpace Repository

การส่งเสริมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพในการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
dc.contributor.advisor วรวุฒิ เพ็งพันธ์
dc.contributor.author ธีระพงษ์ อาญาเมือง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:44:02Z
dc.date.available 2023-09-18T07:44:02Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10038
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและปัญหา 2) กระบวนการที่เหมาะสม และ 3) แนวทางการส่งเสริมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพในการรองรับการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในภาคตะวันออกงานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ข้อมูลจากการสำรวจ สัมภาษณ์สังเกต และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของสถานประกอบการมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างสูง และมีบริการที่หลากหลายเน้นการให้บริการด้านการแพทย์องค์รวมและการแพทย์พื้นบ้านนำแหล่งทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นทุนทางด้านสถานที่วัตถุดิบ ผสมผสานกลิ่นอายอารยธรรมตะวันตก อย่างลงตัว และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแห่ง ด้านปัญหายังขาดพนักงานที่มีฝีมือและจำนวนไม่เพียงพอ ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ปัญหาการบังคังใช้กฎหมายกับผู้ประกอบการที่ทำ ธุรกิจแอบแฝงและสร้างความเสียหายให้กับภาพลักษณ์ของธุรกิจสปาและนวดแผนไทยของประเทศไทย ซึ่งถ้าสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้จะทำให้ธุรกิจสปาและนวดแผนไทยของไทยมีความเข้มแข็ง และเติบโตอย่างยั่ง ยืน 2) กระบวนการที่เหมาะสม ควรมีระบบการจัดการที่ดีใน 5 องค์ประกอบ ดังนี้ ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง, ต้องมีแหล่งเงินทุนที่เข้าถึงได้ง่าย, มีวัตถุดิบที่ได้คุณภาพมาตรฐานและเพียงพอ, ต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย และระบบการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า, ข้อมูลข่าวสารควรมีช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายและทันสมัยเข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย และ 3) แนวทางการส่งเสริมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพจำเป็นต้องมีการส่งเสริมเกื้อหนุนกันระหว่างภาครัฐ และเอกชน ควรมีการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้ครบทั้ง 5 องค์ประกอบ ควรมีการส่งเสริมจากภาครัฐด้านนโยบาย ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ควรมีการจัดบริการที่ตอบสนองต่อความ ต้องการของผู้รับบริการ การทำวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจหรือความต้องการของผู้รับบริการโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการพัฒนาบุคลากรให้สามารถให้บริการกับกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในระดับประเทศต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.subject การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
dc.subject สถานบริการสุขภาพ
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject สปา
dc.title การส่งเสริมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพในการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภาคตะวันออก
dc.title.alternative The helth sp promotion service for helth tourism center in estern region of thilnd
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were to study; 1) the current condition and problems, 2) appropriate processes, and 3) the guideline for promoting the health spa establishments as the health tourism center in Eastern Thailand. This research employe a qualitative research methodology. The data were collected from related documents, field study, survey, interview, observation and group discussions. The results showed that; 1) For current situation, the spa establishments have a relatively high growth rate and offers a wide variety of services, focusing on holistic and traditional medicine services. Natural resources have been used as capital for lbuildings and raw materials by perfectly combining the vibe of western civilization and creating a unique identity for each establishment. For problems, it was found that there is a lack and insufficient number of skilled employees, lack of access to finance, and law enforcement issue concerning the entrepreneurs running covert businesses which damaged the image of the Thai spa and massage business in Thailand. If these problems are solved, it will strengthen and result in sustainable growth of the Thai spa and massage business in Thailand. 2) For the processes, there should be good management systems in 5 aspects: continuous human resource development, easy access to finance, standardized and sufficient accessing quality raw materials, and systematic management such as facility management, safety management, and cost-effective management system for existing resources. In addition, there should be a variety of information dissemination channels that are up to date and accessible to all target groups. 3) For the guideline for promoting health spa establishments, there is a need to promote and support each other between the public and private sectors, and the health spa establishments should be improved and developed in all 5 aspects. The government should promote policy on research and product development. Different services should be organized in response to the user needs. In further research, the satisfaction or needs of the users, especially the elderly tourists, should be studied in order to use the obtained information as a guideline for human resource development planning to effectively serve the customers and to create a competitive advantage in health tourism at the national level.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account