DSpace Repository

ระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทิพย์เกสร บุญอำไพ
dc.contributor.advisor นคร ละลอกน้ำ
dc.contributor.author สิธยา บุญเรือง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:44:01Z
dc.date.available 2023-09-18T07:44:01Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10036
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ สําหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบการสื่อสารสุขภาพ แบบภควันตภาพ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านที่มีต่อระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ (4) ประเมินรับรองระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 10 คน ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค (2) อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านในจังหวัดชลบุรี ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากผู้ที่สมัครใจ จํานวน 30 คน (3) ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินและรับรองระบบ การสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ จํานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพสําหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านจังหวัดชลบุรี (2) แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้ระบบ ฯ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควัตภาพฯ และ (4) แบบประเมินและรับรองระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1 / E2 และ t-test แบบ Dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพสําหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บริบท 2) ผู้ส่งสาร 3) เนื้อหาสาร 4) ช่องทางการสื่อสารสุขภาพ 5) ผู้รับสารและ 6) การประเมินผล 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมตามระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ สําหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน E1/ E2 เท่ากับ 80.72/ 82.5 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/ 80 3. ความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านที่มีต่อระบบการสื่อสารสุขภาพ แบบภควันตภาพ สําหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 4. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรับรองระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ สําหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การสื่อสารทางการแพทย์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title ระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
dc.title.alternative A ubiquitous helth communiction system for villge public helth volunteers in chonburi province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research’s objectives were; (1) to develop a Ubiquitous health communication system for village public health volunteers, (2) to validate the efficiency of the developed Ubiquitous health communication system for village public health volunteers, (3) to study the village public health volunteers’ satisfaction toward the Ubiquitous health communication system, and (4) to assess and verify the Ubiquitous health communication system by the experts. This study was a research and development. The samples group included: (1) 10 specialists in the educational technology, the information technology, and the consumer protection, (2) 30 village public health volunteers in Chonburi province, obtained by multi-stage random sampling, and 3) 5 experts for assessing and verifying the Ubiquitous health communication system. The research instruments were; (1) a Ubiquitous health communication system for village public health volunteers in Chonburi province, (2) pre-test and post-test, (3) a Ubiquitous health communication satisfaction questionnaire, and (4) assessment and verification forms for the educational experts. The statistics used in the data analysis were mean, percentage, standard deviation, E1 / E2 and t-test Major Findings; 1. The Ubiquitous health communication system for village public health volunteers in Chonburi province consisted of 6 components: 1) context, 2) source, 3) message, 4) channel or media, 5) receiver, and 6) evaluation. 2. The activities package on a ubiquitous health communication system possessed the value E1 / E2 at 80.72/ 82.5 which met the criteria of 80/ 80. 3. The satisfaction of the village health public volunteers toward a Ubiquitous health communication system were at the highest level. 4. The assessment and verification of the ubiquitous health communication system by the educational experts were at the highest level.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline เทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account