dc.contributor.advisor | วิมลรัตน์ จตุรานนท์ | |
dc.contributor.advisor | สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ | |
dc.contributor.author | สุภัทรพงศ์ รวงผึ้งรุ่งโรจน์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:44:00Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:44:00Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10033 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย และ 3) เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีวิธีการวิจัยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย (R1) ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือฉบับร่าง และการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (D1) ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยประยุกต์ ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Try out) (R2) ขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (D2) ขั้นที่ 5 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (R3) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยวิธีจับฉลาก และใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทยแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาแบบประเมินความสามารถด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและด้านการสื่อสารสารสนเทศการรู้เท่าทันสื่อแบบประเมินพฤติกรรมด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีมภาวะผู้นำ และความมีเมตตากรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และแบบวัดเจตคติที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test Dependent ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มี 6 องค์ประกอบ คือ หลักการจุดมุ่งหมายกระบวนการจัดการเรียนรู้ (ขั้น ที่ 1 สรรค์สร้างแรงจูงใจขั้นที่ 2 ขานไขประสบการณ์ล้ำค่า ขั้นที่ 3 พิจารณาค้นคว้าองค์ความรู้ขั้นที่ 4 ควบคู่ เผยแพร่ผลงาน ขั้นที่ 5 เชี่ยวชาญด้วยการตรวจสอบ) การวัดและการประเมินผล บทบาทของครู และบทบาทของนักเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมดีมาก ( X = 4.65, SD = 0.64) 2. ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้ 2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนมีความสามารถในทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาหลัเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 นักเรียนมีความสามารถด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม และด้านการสื่อสารสารสนเทศรู้เท่าทันสื่อ มีคะแนนเฉลี่ย 22.24 คะแนน อยู่ในเกณฑ์การจัดอันดับคุณภาพดีมาก 2.4 นักเรียนมีพฤติกรรมความร่วมมือการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ และความมีเมตตากรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม มีคะแนนเฉลี่ย 87.13 อยู่ในเกณฑ์การจัดอันคุณภาพดีมาก 3. เจตคติที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับดีมาก ( X = 4.72, SD = 0.52) | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | วรรณคดีไทย | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน | |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 | |
dc.title.alternative | Development of thi literture lerning model pplying constructivism nd coopertive lerning to enhnce 21st century skills of mtthyomsuks 6 students | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were; 1) to develop Thai literature learning model using constuctivism and cooperative learning to enhance 21st century skills of mattayomsuksa 6 students, 2) to study the results of the developed Thai literature learning model, 3) to study the students attitudes toward Thai literature model using constuctivism and cooperative learning of mattayomsuksa 6 students. This research was devided into 5 procedures: 1) studying problematic environment of Thai literature learning (R1); 2) developing a prototype version of Thai literature learning model by applying contructivism and cooperative learning and including research tool creation and development (D1); 3) trying out the Thai literature learning model by applying contructivism and cooperative learning (try out) (R2); 4) revising the Thai literature learning model by applying contructivism and cooperative learning (D2); 5) studying the results of the implementation of the Thai literature learning model by applying contructivism and cooperative learning (R3). The reserach participants were 40 Mattayomsuksa 6 students of Klaeng ‚Wittayasathaworn‛School selected by Simple Random Sampling (drawing), followed by Cluster Sampling using classroom as a unit. The instruments were learning lesson plans, Thai literature learning achievement forms, critical thinking and problem-solving skill forms, evaluation forms on ability of creating an intovation, communication of informtaion, and media awareness, cooperative behaviour, teamworking, leadership, samaritan, disciplines, miorality, ethic, and attitudes towards Thai literature by applying evaluation forms constuctivism and cooperative learning to enhance 21st century skills of mattayomsuksa 6 students. The data were analyzed by using mean, standard deviation, effectiveness index, and t-test dependent. The research findings were as follows: 1. The Thai literature learning model by applying constructivism and cooperative learning to enhance 21st century skills of mattayomsuksa 6 students-consisted of principles, objectives, learning process (step 1: encouraging motivation; step 2: empowering experience; step 3: researching knowledge; step 4: disseminating works; step 5: Investigating). The evaluation on teachers’ and students’ roles-assessed by the experts found that the constructed learning model had excellent quality ( X = 4.65, SD = 0.64); 2. The results of the implementation of Thai literature model by applying constructivism and cooperative learning to enhance 21st century skills of mattayomsuksa 6 students were as follows: 2.1 The students obtained higher post learning scores on Thai literature than pre learning with the statistic significance set at 0.05 2.2 The students obtained posttest critical thinking and problem solving skills than pretest with the statistic significance set at 0.05 2.3 The average scores of students obtained on the ability in creating an innovation, communication of information, and media awareness was at 22.24 (very good) 2.4 The average scores of students obtained more cooperative, teamworking, leadersship, samaritan, discipinary, moral, and ethical behaviour was at 87.13 (very good) 3. The students had agreeable attitudes towards Thai literature model by applying constructivism and cooperative learning to enhance 21st century skills of mattayomsuksa 6 students ( X = 4.72, SD = 0.52) | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | หลักสูตรและการสอน | |
dc.degree.name | การศึกษาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |