dc.contributor.advisor |
ปริญญา ทองสอน |
|
dc.contributor.advisor |
ปานเพชร ร่มไทร |
|
dc.contributor.author |
พรสวรรค์ สมชิต |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-18T07:43:59Z |
|
dc.date.available |
2023-09-18T07:43:59Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10029 |
|
dc.description |
วทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทําประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการจัดทําประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.1) ศึกษาผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทําประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากผู้เชี่ยวชาญ 2.2) ศึกษาผลการประเมินความรู้ความเข้าใจของครูและบุคลากรก่อนและหลังการจัดฝึกอบรมการจัดทําประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของครูที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง ปี การศึกษา 2563 และเป็นหัวหน้างานรับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จํานวน 20 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรมประกนคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ทุกข้อ คําถามมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.8-1.00 ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ได้หลักสูตรฝึกอบรมการจัดทําประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วย สภาพปัญหาและความจําเป็น หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร หน่วยการฝึกอบรม โครงสร้าง ระยะเวลาการฝึกอบรม เนื้อหาสาระ กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล และเอกสารประกอบหลักสูตร ประกอบด้วย คู่มือการฝึกอบรม สําหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2. ได้ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการจัดทําประกนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.1 ศึกษาผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทําประกนคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมในทุกหน่วยการฝึกอบรม มีค่าระหว่าง 3.50-4.50 มีความเหมาะสมของหลักสูตรอยู่ในระดับมาก 2.2 ศึกษาผลการประเมินความรู้ความเข้าใจของครูและบุคลากรก่อนและหลังการจัดฝึกอบรมการจัดทําประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ประกันคุณภาพการศึกษา |
|
dc.subject |
การวางแผนหลักสูตร |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
|
dc.title |
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง |
|
dc.title.alternative |
The trining curriculum development on development of internl qulity ssurnce for bsic eduction of nubn tksin ryong interntionl school |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This study aimed to; 1) develop the training curriculum for internal quality assurance for basic education, 2) evaluate the results of the training curriculum for internal quality assurance for basic education, 2.1) investigate the feedback of the training curriculum for internal quality assurance for basic education from the experts, 2.2) study the understandings on the internal quality assurance for basic education of Anuban Taksin Rayong International School teachers, academic year 2020, before and after the training. The participants were 20 teachers who were responsible for in internal quality assurance for basic education. They were selected using purposive sampling. The research instruments employed for collecting data was a pre-test and post-test on the internal quality assurance for basic education. The data were analyzed by using mean, standard deviation (SD) and t-test. The result showed that the curriculum for internal quality assurance for basic education comprised of the following components; Problems and Necessities, rationale and basic principles, curriculum’s objectives, training topics and processes, training duration, contents, training activities, training materials, training assessments and evaluations, training documents, and training manuals for the trainees. The evaluation results on the training curriculum for internal quality assurance for basic education from the experts showed the consistency and appropriateness at the high level (3.50-4.50). The post-test scores showed the higher results comparing to pre-test (0.5). |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
หลักสูตรและการสอน |
|
dc.degree.name |
การศึกษามหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|